โครงการ สตรีลำใหม่ใส่ใจสุขภาพ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ชื่อโครงการ | โครงการ สตรีลำใหม่ใส่ใจสุขภาพ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก |
รหัสโครงการ | 68-L4141-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 20 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายดุษฎี ปาลกาลย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.583,101.205place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงไทย และทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO)ปี 2023 ระบุว่า มีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกราว 342,000 คนต่อปีทั่วโลก และเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ในประเทศไทย จากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (ปี 2565) พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2ในสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม โดยมีอัตราการเกิดโรคใหม่ประมาณ 7,500 รายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตราว 2,000 รายต่อปี
การตรวจคัดกรองด้วยวิธี Pap Smear หรือ HPV DNA Test สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคและการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การส่งเสริมให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญ เข้ารับการอบรมความรู้และตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการควบคุมโรคนี้ในระดับชุมชน
จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2567 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียง 138 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.43 จากประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 1,027 คน ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ปี 2568 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่ไม่เข้ารับบริการไม่กล้ามาตรวจ,กลัวเจ็บและบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและปัจจุบันนี้ตรวจคัดกรองด้วยวิธี HPV DNA Test ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ตรวจด้วยตนเอง จึงช่วยลดความเขินอายได้ ด้วยเหตุนี้ โครงการ สตรีลำใหม่ใส่ใจสุขภาพ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จึงจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงมีความรู้ ความตระหนัก และเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก สาเหตุ การป้องกัน และการตรวจคัดกรองอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม |
||
2 | เพื่อส่งเสริมให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย 90%ของผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเป้าหมาย (จำนวน 50 คน) |
||
3 | เพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะยาว ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการอบรมและการตรวจคัดกรองในระดับ “มาก” ถึง “มากที่สุด” ตามแบบประเมินความพึงพอใจ |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 14,250.00 | 0 | 0.00 | 14,250.00 | |
23 มิ.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 14,250.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 14,250.00 | 0 | 0.00 | 14,250.00 |
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 70
- ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
- ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2568 10:46 น.