กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พลัง 3 สร้าง สร้างเด็กปฐมวัยไทยคุณภาพเพื่อขับเคลื่อนการจัดการและแก้ไขปัญหาภาวะเตี้ย ผอม อ้วน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พลัง 3 สร้าง สร้างเด็กปฐมวัยไทยคุณภาพเพื่อขับเคลื่อนการจัดการและแก้ไขปัญหาภาวะเตี้ย ผอม อ้วน
รหัสโครงการ 68-L5218-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 36,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรพร จันทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง อย่างเหมาะสม การดูแลจัดการ อาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็ก รวมถึงภาวะการเจริญเติบโต เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ผอม/เตี้ย เป็นต้น การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนจึงมีความจำเป็นมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโต โดยมีแนวคิดให้เด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดีและมีคุณภาพในการดำรงชีวิตประจำวัน อ้างถึงหน้งสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0821.4/ว 776 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เรื่องขอความอนุเคราะห์ร่วมขับเคลื่อนการจัดการและแก้ไขปัญหาภาวะเตี้ย ผอม อ้วน ในเด็กอายุ 0-5 ปี ภายใต้รูปแบบ “พลัง 3 สร้าง สร้างเด็กปฐมวัยไทยคุณภาพ แก้ไขปัญหาเตี้ย ผอม อ้วน” โดยผสาน 3 สารอาหารสำคัญ ลดภาวะซีดและไอโอดีน เพื่อเด็กปฐมวัยไทย สูงดีสมส่วนฉลาดสมวัย และห่างไกล NCDs ในอนาคต ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 66 และ 67 (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(10) และมาตรา 17(27) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งสอดคล้องกับการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องด้านกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในการนี้กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พลัง 3 สร้าง สร้างเด็กปฐมวัยไทยคุณภาพเพื่อขับเคลื่อนการจัดการและแก้ไขปัญหาภาวะเตี้ย ผอม อ้วน ขึ้น เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตเต็มวัย ลดภาวะทุพโภชนาการ (ผอม/เตี้ย) เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโต และแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างเหมาะสมตามวัย อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตามวัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตเต็มวัย ลดภาวะทุพโภชนาการ (ผอม/เตี้ย)

กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพเด็กโดยมีหนูน้อยสุขภาพดี มาเป็นต้นแบบในการเลี้ยงดูลูก

70.00
2 2. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพเด็กโดยมีหนูน้อยสุขภาพดี มาเป็นต้นแบบในการเลี้ยงดูลูก

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต โดยครูผู้ดูแลเด็กในสังกัด อบต.คลองแดน 1.1 จัดทำทะเบียน/บัญชีเด็กปฐมวัยที่อยู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.2 จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง ที่มีมาตรฐานหากจำเป็นเนื่องจากชำรุดหรือเสื่อม 1.3 ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน คือ ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม
    พร้อมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก 1.4 นำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 18 ปี และ/ หรือสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก (สมุดสีชมพู) 1.5 นำข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและ แนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการและการเล่น 2 การสนับสนุนกิจกรรมแก้ไขเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม 2.1 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม และ ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการแก้ไข 2.2 กรณีเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม สนับสนุนไข่หรือนมให้เป็นเวลา 180 วัน หรือจนกว่าเด็ก กลับมาอยู่ในระดับค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม ส่วนเด็กที่ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม สนับสนุนไข่หรือนมให้เป็นเวลา 60 วัน หรือจนกว่าเด็กอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์และสมส่วน หรือเพิ่มอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์หรือปลากระป๋องให้กับเด็กที่เตี้ย ผอม น้ำหนักน้อย ยังคงให้เด็กได้เล่นออกกำลังตามปกติอย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) และอาจจำเป็นต้องสนับสนุนไข่หรือนมหรือปลากระป๋องเพิ่มเติม ให้เด็กที่ครอบครัวฐานะยากจน 2.3 กรณีเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นใน สนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 2.4 สร้างพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องของเด็กผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเล่น การวาดภาพ ระบายสี การร้องเพลง การเล่านิทาน เป็นต้น
  2. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3-6 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการ ต่อเนื่อง
  3. การจัดอาหาร (อาหารกลางวันและอาหารว่าง) ปรับปรุง จัดเตรียมและจัดอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการ ตามข้อแนะนำชุดกิจกรรมพื้นฐานด้านโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงาน (ภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกัน สุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 3 เดือน
  2. เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอมได้รับการดูแล
  3. ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารกลางวันได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็d
  4. ผู้ปกครองหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพเด็กเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2568 11:16 น.