กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ประจำปีงบประมาณ 2568

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5218-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 33,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรพร จันทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ ในการที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เด็กทุกคนควรได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวชุมชนและรัฐเพื่อส่งเสริมให้เด็กๆเหล่านั้นได้รับการศึกษา ที่รัฐจัดให้ ได้รับการพัฒนาในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เด็ก ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหาร มีบทบาทสำคัญ ควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ได้รับการฝึกอบรมเพื่อสามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความร่วมมือกันเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆ ทั้งป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในช่วงระบาดซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมาก ในกลุ่มอายุ 0 – ๖ ปี ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเสี่ยงต่อการป่วยและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไปสู่เด็กคนอื่นๆได้ง่าย การดูแลสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ต้องเริ่มต้นที่กลุ่มเด็กปฐมวัย แรกเกิด – 6 ปี เนื่องจากช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยแห่งโอกาสทองการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถ หากปล่อยให้ช่วงเวลาของวัยดังกล่าวล่วงเลยไปการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถจะทำได้ลำบาก ดังนั้นการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจึงเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพื่อการมีประชาชนที่มีคุณภาพ ลดภาระปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงลดปัญหาทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต งานพัฒนาการจึงเป็นประเด็นหลักสำหรับกลุ่มวัยนี้ การพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสมอง ทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะทางสังคม ที่เหมาะสม ล้วนมาจากการมีต้นทุนทางพัฒนาการที่ดีด้วยการเฝ้าระวัง ประเมิน และส่งเสริมพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอทุกช่วงระดับอายุ แต่จากการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ผ่านมายังคงพบเด็กปฐมวัย ร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 มีพัฒนาการล่าช้า โดยเฉพาะพัฒนาการด้านการใช้ภาษา และกล้ามเนื้อมัดเล็ก (กรมอนามัย, 2557) ขณะเดียวกันพบว่าพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ซึ่งถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในชุมชนให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมเตรียมความพร้อมของเด็กด้านพัฒนาการเพื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียนเพียงร้อยละ 20 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555) ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 66 และ 67 (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(10) และมาตรา 17(27) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งสอดคล้องกับการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องด้านกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ในการนี้กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการตรวจสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยและการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง เพื่อเสริมสร้างทักษะการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างเหมาะสมตามวัย อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตามวัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆที่มักพบในเด็กปฐมวัย และได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆที่มักพบในเด็กปฐมวัย และได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80 ขึ้นไป

2 เพื่อกระตุ้นให้เด็กและผู้ปกครองใส่ใจต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัยเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายได้รับการกระตุ้นให้ใส่ใจต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80 ขึ้นไป

3 เพื่อส่งเสริมให้ครู เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง มีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆและป้องกันควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการ

กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพแข็งแรงมีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆและป้องกันควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ และพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

4 เพื่อตรวจคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยและบุคลากรอย่างเข้มและเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัย

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพอย่างเข้ม ร้อยละ 70 ขึ้นไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆที่มักพบในเด็กปฐมวัย และได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อกระตุ้นให้เด็กและผู้ปกครองใส่ใจต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัยเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อส่งเสริมให้ครู เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง มีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆและป้องกันควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อตรวจคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยและบุคลากรอย่างเข้มและเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัย

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านการดูแลและคัดกรองสุขภาพในเด็ก
  2. จัดกิจกรรมสัปดาห์แห่งพัฒนาการเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาการเด็ก โดย
      2.1) การแสดงนิทรรศการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยความร่วมมือของหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ โรงเรียนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และภาคประชาชน   2.2) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้       - พัฒนาการตามวัยเด็ก 0–6 ปี จำนวน 1 ชั่วโมง   - การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0–6 ปี จำนวน 1 ชั่วโมง   - การประเมินและคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น จำนวน 1 ชั่วโมง   - ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 0–6 ปี จำนวน 1 ชั่วโมง   2.3) จัดกิจกรรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ตลอดสัปดาห์   2.4) จัดหาอุปกรณ์การเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการทดแทนของเก่าหรือเพิ่มเติมไว้ประจำที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   2.5) ครู ผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองเฝ้าระวังประเมินพัฒนาการเด็กทุกเดือน หากสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ส่งพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อคัดกรอง   2.6) ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพสต. ตรวจคัดกรองเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า และเด็กที่มีอายุครบ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   2.7) ครู ผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอย่างต่อเนื่อง 1 เดือน และประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจคัดกรองซ้ำ หากยังมีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่สูงกว่า
  3. กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพแก่เด็กปฐมวัย ครู และผู้ประกอบอาหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆที่มักพบในเด็กปฐมวัย
  2. กระตุ้นให้เด็กและผู้ปกครองใส่ใจต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย
  3. ครู เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆและป้องกันควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  4. ได้ตรวจคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยและบุคลากรอย่างเข้มและเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัย
  5. ผู้ปกครองหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพเด็กเพิ่มขึ้นโดยมีหนูน้อยสุขภาพดีมาเป็นต้นแบบในการเลี้ยงดูลูก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2568 13:41 น.