โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส |
รหัสโครงการ | 68-L5235-2-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดประดู่หอม |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอังสนา สีตะพงศ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายศุภฤกษ์ การะเกตุ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.542,100.388place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาชาติที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาคนคือ การพัฒนาสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสมสมองของเด็กก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของร่างกาย เมื่อท้องอิ่มจิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็ก ๆ เพราะการที่นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้าและจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็ก ๆ คือขนมจากร้านในหมู่บ้านซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากการขาดอาหารสำคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดโครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิ เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางอาหาร มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ มีคุณค่าและมีความปลอดภัย 2 . นักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. นักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) มีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางอาหาร มีคุณค่าและมีความปลอดภัย ร้อยละ 100 2. นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 95 3. นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย ร้อยละ 90 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เสนอโครงการเพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองรี
- ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงาน การดำเนินงานร่วมกัน
- ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ)
- เปรียบเทียบเกณฑ์น้ำหนัก/ส่วนสูง ของเด็กทุกคน ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ อายุของเด็ก
- ดำเนินการจัดทำอาหารมื้อเช้าให้กับเด็กนักเรียน
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ
- รายงานผลการดำเนินการเสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลคลองรี ทราบ
- นักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100
- นักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน ร้อยละ 95
- นักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90 4.นักเรียนโรงเรียนวัดประดู่หอม (เหลืออุทิศ) ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2568 14:39 น.