โครงการยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อโครงการ | โครงการยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น |
รหัสโครงการ | 68-L5218-2-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11 |
วันที่อนุมัติ | 30 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 13,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศรีสุดา โมสิโก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.912,100.319place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11 เป็นสถานศึกษาที่มีหน้าที่ดูแลและให้การศึกษากับเด็กทั้งปฐมวัยและประถมศึกษา ให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11 ได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยมานานซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละสังคมวัฒนธรรมและรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพรในการนวดผดุงครรภ์ซึ่งตอบสนองความต้องการทางการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้กันว่าสมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและใช้ประโยชน์ได้จริงมายาวนาน แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบที่นิยมทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพได้รับการพัฒนาทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากพืชสมุนไพรน้อย ทั้งๆที่สมุนไพรเหล่านี้มีอยู่ในชุมชนมาอย่างยาวนาน การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำอย่างจริงจัง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11 จึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรมาพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมถึงความตระหนักและตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายและหลากหลายรูปแบบ จึงคิดจัดทำโครงการยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ขึ้นมา และเพื่อนำสารสกัดมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยาสมุนไพร ประเภทสูดดม พิมเสนน้ำ ยาหม่อง ยาดม ให้มีคุณภาพและคุณสมบัติที่ดีตามต้องการและความปลอดภัยจากสารตกค้าง และเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และสมุนไพรไปพร้อมกันอีกด้วย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11 อยากส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรมาพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น ตระหนักและตื่นตัวจากความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้รับความรู้สรรพคุณ เกี่ยวกับของสมุนไพรไทยในท้องถิ่น อีกทั้งสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลภายในครอบครัวได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สรรพคุณ เกี่ยวกับสมุนไพรมากขึ้น ร้อยละ 70 ของนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ สรรพคุณ เกี่ยวกับสมุนไพร |
||
2 | เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีทักษะในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 70 ของนักเรียน มีทักษะในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สรรพคุณ เกี่ยวกับสมุนไพรมากขึ้น |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีทักษะในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
ขั้นตอนที่ 1 นำเสนอโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาอนุมัติโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
ขั้นตอนที่ 3 ประชาสัมพันธ์โครงการ
ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินโครงการ
4.1 ประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ติดต่อวิทยากร
4.2 จัดเตรียมการให้ความรู้ เอกสาร สถานที่ จัดเตรียมอุปกรณ์วัสดุต่างๆ
4.3 จัดกิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่น
4.4 จัดกิจกรรมที่ 2 การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินผล
5.1 ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สรรพคุณ เกี่ยวกับสมุนไพร
- นักเรียนมีทักษะในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2568 15:54 น.