โครงการชุมชนสุขภาพจิตดี พิชิตสุขภาพใจ ที่บือแน ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนสุขภาพจิตดี พิชิตสุขภาพใจ ที่บือแน ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3029-1-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 31,825.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวแวซำซียะ ปารามัล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของคนไทย เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มีเพิ่มมากขึ้น และเป็นหนึ่งในประเด็นที่น่ากังวลในสังคมของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยที่มีสัดส่วนสูงเพิ่มขึ้นในทุกปี ปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสังคมไทย เนื่องจากสภาพปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบให้แต่ละกลุ่มวัยต้องเผชิญกับปัญหาทางจิตใจที่แตกต่างกัน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตนเองและบุคคลในสังคมรอบข้าง เรื่องของสุขภาพจิตในสังคมนั้นอาจนำพาไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการยกระดับประสิทธิภาพ ในการแก้ไขอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจากทุกภาคส่วน แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้ารับการรักษา 2.9 ล้านคน แต่ผู้มีปัญหาอาจมากถึง 10 ล้านคน ทำให้สัดส่วนผู้มีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาจากการเข้าถึงการรักษา และมีผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาจำนวนมาก รายงานการศึกษาความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้พิการทางจิตให้ทุเลาจากการเจ็บป่วย จึงได้จัดทำชุมชนสุขภาพจิตดี พิชิตสุขภาพใจ ที่บือแน ประจำปี2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยจิตเวช ป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถดำเนินชีวิตในชุมชนได้ตามศักยภาพ และเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมได้มากที่สุด อีกทั้งยัง ทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้คะแนนประเมินความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70
- ลดการตีตราและเพิ่มการยอมรับจากสังคม ชุมชนมีทัศนคติดีขึ้นต่อผู้ป่วยจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2568 15:17 น.