โครงการอบรมให้ความรู้ สร้างเสริมสุขภาพป้องกันฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็นและแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พบปัญหาทางการมองเห็น
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้ สร้างเสริมสุขภาพป้องกันฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็นและแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พบปัญหาทางการมองเห็น |
รหัสโครงการ | 68-L3350-03-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลควนมะพร้าว |
วันที่อนุมัติ | 8 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 125,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวินิจ แป้นแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | องค์การบริหารส่วน ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ดวงตาประกอบด้วยส่วนที่มองเห็นจากภายนอก และส่วนที่อยู่ภายใน เช่น คิ้ว ขนตา เปลือกตา ต่อมน้ำตาและ ท่อระบายน้ำตา เบ้าตา เยื่อบุตา กระจกตา ตาขาว ม่านตา แก้วตา จอตาและประสาทตา กล้ามเนื้อกรอกตา และสารน้ำภายในลูกตาในดวงตามีความรู้สึกชนิดต่างๆ ที่ไวต่อแสง ระบบประสาทตาจะนำสัญญาณความรู้สึกที่ได้รับเข้าสู่สมอง และสมองทำหน่าที่แปลความหมายของภาพที่มองเห็น ความลึก หรือความสามารถในการบอกมิติและความสามารถในการป้องกันตนเอง ดวงตายังมีขบวนการป้องกันอันตรายหรือการตอบสนองต่อสิ่งที่เร้าของระบบการมองเห็น (รีเฟล็กซ์) หากสุขภาพดวงตาเสียไปจะทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติต้องพึ่งพาผู้อื่นและเป็นภาระในการดูแลของครอบครัวและสังคม ดังนั้น จึงต้องมีวิธีการดูแลสุขภาพดวงตาก่อนอื่นต้องสังเกตว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคตาหรือไม่ ได้แก่ ตามัวตลอดเวลาหรือชั่วคราว ตาสู้แสงไม่ได้ มองเห็นจุดหรือเป็นเส้นสีดำๆ ลอยไปลอยมา ตาบอดกลางคืน มองเห็นแสงวาบ มองเห็นภาพซ้อน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ ปวดตา คันตา และตาแดง หากพบอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการมองเห็นและเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน เนื่องจากทำให้ การปฏิบัติทุกอย่างเกิดความสะดวก ถูกต้องและเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนสิ่งที่ทำให้มนุษย์มองเห็นก็คือ ดวงตา และปราสาทตา ดังนั้นการดูแลรักษาที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับมนุษย์ทุกคน ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตามีหลายชนิด ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการสวมใส่แว่นสายตาที่เหมาะสม จากความสำคัยดังกล่าว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผุ้สูงอายุตำบลควนมะพร้าว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องสายตาของผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองและแก้ไขความผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุประจำปี 2568 โดยการตรวจวินิจฉัยโรคทางตาและตรวจวัดสายตาสำหรับใช้แว่นต่าที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านสุขภาพอนามัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 125,450.00 | 0 | 0.00 | 125,450.00 | |
18 ก.ค. 68 | ตรวจวินิจฉัยโรคทางการมองเห็น (โรคตา) โดยนักทัศนมาตร | 0 | 25,450.00 | - | - | ||
18 ส.ค. 68 | บริการตัดแว่นสายตากรอบพร้อมเลนส์ ตามความผิดปกติททางสายตา | 0 | 100,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 125,450.00 | 0 | 0.00 | 125,450.00 |
1) ผู้สูงอายุและผู้พบปัญหาทางการมองเห็นได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพดวงตาและตระหนักถึงโรคทางตา
2) ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาทางการมองเห็นที่ได้รับการคัดกรอง
3) ผู้สูงอายุและผู้พบปัญหาทางการมองเห็นที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นได้รับความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตา สามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2568 16:17 น.