กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนคลองแดนร่วมใจต้านภัยโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย
รหัสโครงการ 68-L5218-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 17,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภา ทองด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากรายงานกรมสุขภาพจิตพบว่า ในปี 2566 และปี 2567 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จรวมทั้งสิ้น 4,822 ราย และ 4,810 ราย คิดเป็น 7.37 และ 7.37 ต่อแสนประชากร กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งถือเป็นวัยแรงงานที่สำคัญของประเทศ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มาจากการทะเลาะเบาะแว้งกับคนใกล้ชิด น้อยใจ ถูกดุด่า ถูกตำหนิ ปัญหาความรัก ความหึงหวง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมทั้งกลุ่มใช้สุราและสารเสพติดที่มีอาการจิตประสาทร่วมด้วย อำเภอระโนด 2566 และปี 2567 จำนวน 5 ราย และ 16 ราย คิดเป็น 8.93 และ 28.57 ต่อแสนประชากร ในพื้นที่ตำบลคลองแดน ปี งบ 2565 - 2567 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี2565 จำนวน 1 ราย พยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 1 ปี2566 ฆ่าตัวตายสำเร็จไม่มี มีพยายามฆ่าตัวตาย 3 ราย ปี 2567 ฆ่าตัวตายสำเร็จ ไม่มี พยายามฆ่าตัวตาย 4 ราย จะเห็นได้ว่าจำนวนพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นทุกปีขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยที่ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หุนหันพลันแล่น ถูกนอกใจ อกหักรักคุด รวมไปถึง มีปัญหาติดสุรา ยาเสพติด ทรมานจากโรคเรื้อรัง เป็นโรคจิต โรคซึมเศร้าอยู่เดิม เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน ตลอดจนมีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจน ขัดสน เงินไม่พอใช้ เสียทรัพย์จากการพนัน เป็นต้น การฆ่าตัวตาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยซึ่งอยากให้มองว่าการฆ่าตัวตาย เป็นเหมือนโรคๆ หนึ่ง ที่รักษาได้ และ ป้องกันได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกคน การแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่สำคัญ คือ ต้องขับเคลื่อนด้วยผู้กำหนดนโยบายอย่างจริงจังพร้อมมีข้อมูลหลักฐานวิชาการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาขับเคลื่อนไปได้ กลวิธีสำคัญในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในแต่ละจังหวัด ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ แผนงาน กลยุทธ์ ที่ชัดเจน การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง บูรณาการแก้ไขปัญหาใน ทุกรูปแบบ มีการประเมินอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงการดูแลสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้อง ลดการเข้าถึงอาวุธ สารเคมี และแอลกอฮอล์ ตลอดจน ความร่วมมือที่ดีจากสื่อมวลชนในการนำเสนอปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีความถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย สำหรับมาตรการป้องกันในหน่วยงาน คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายและโรคทางจิตเวชต่างๆ การสังเกต เฝ้าระวัง เพื่อนร่วมงานที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือต่อไป ส่วนคนที่เคยมีอาการแล้วดีขึ้น จะมีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ ทั้งจากคนใกล้ชิดและเพื่อนร่วมงาน โดยพบว่า การให้กำลังใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองจะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน จึงได้จัดทำโครงการคนคลองแดนร่วมใจต้านภัยโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำในชุมชนเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและลดอัตราการฆ่าตัวตายในชุมชน และมีการจัดอบรมกลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตาย จึงขอเสนอโครงการคนคลองแดนร่วมใจต้านภัยโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ โดยชุมชนมีส่วน

ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ

2 เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยง/ผู้พยามฆ่าตัวตายเข้าถึงบริการ 2.2 ร้อยละ 90 ของผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับไปทำร้ายตัวเองซ้ำ

3 เพื่อสร้างรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในตำบลอย่างต่อเนื่อง

อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 50

4 กลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายมีความรู้ความข้าใจเรื่องโรคและปรับเปลี่ยนความคิด

ร้อยละ90ของกลุ่มเสี่ยงได้เข้ารับการอบรมและมีความรู้ในการดูแลตัวเอง

5 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตำบลคลองแดนเข้าถึงบริการ

ร้อยละ 80 ประชาชนสามารถรู้ช่องทางการเข้าถึงบริการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูล จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน
  2. จัดอบรมแกนนำ (อสม. ผู้นำชุมชน สมาชิกอบต. ตัวแทนนักเรียน) ให้ความรู้ เกี่ยวกับ การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในชุมชน.
  3. สร้างรูปแบบและแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและมีการติดตามดูแลในตำบลอย่างต่อเนื่อง
  4. ดำเนินการสร้างเครือข่าย ประชาสัมพันธ์ในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในตำบล
  5. ประสานงานกับแกนนำชุมชน เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  6. จัดประชุมติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้ง่าย ไม่มีการฆ่าตายเกิดขึ้นในตำบลคลองแดน
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายมีความรู้ความข้าใจเรื่องโรคและปรับเปลี่ยนความคิด
  3. แกนนำมีความรู้ความเข้าใจ รับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย และสามารถช่วยเหลือ เบื้องต้นได้ สามารถค้นหาเฝ้าระวัง แจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายได้.
  4. มีรูปแบบและแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและมีการติดตามดูแลในตำบลอย่างต่อเนื่อง
  5. ประชาชนสามารถรับรู้ช่องทางการและเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตได้ง่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2568 08:56 น.