โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ |
รหัสโครงการ | 68-L5218-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน |
วันที่อนุมัติ | 30 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 19,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุภา ทองด้วง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.912,100.319place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูก ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ จะเห็นได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนัง จากการไม่สวมถุงมือและไม่สวมรองเท้าป้องกันขณะทำงาน การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งในอากาศ การรับประทานอาหารและน้ำดื่นที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรทั้งสิ้น การได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนระดับรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ นอกจากเกษตรกรจะได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้ว ยังมีประชาชนทั่วไปที่บริโภคผักและผลไม้ได้รับสารพิษที่ตกค้างอยู่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้เห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ป้องกันโรคที่อาจเกิดจากการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
- แปลผลและแจ้งผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
- จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร เรื่องการใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง แนะนำการใช้ยาสมุนไพรรางจืดล้างพิษ
- จ่ายยาสมุนไพรล้างพิษแก่เกษตรกรกลุ่มที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
- นัดตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซ้ำสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย หลังรับประทานยาสมุนไพรล้างพิษ ครบ 1 เดือน
- เกษตรกร ได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด และได้ทราบถึงความเสี่ยงของตนเอง
- เกษตรกรที่มีความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษเพิ่มขึ้น
- เกษตรกรที่มีความเสี่ยง มีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ
- เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2568 09:30 น.