โครงการอบรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ “Bangrapa Smart Kids บริโภคอย่างฉลาด ส่งเสริมภาวะโภชนาการสมวัย”
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ “Bangrapa Smart Kids บริโภคอย่างฉลาด ส่งเสริมภาวะโภชนาการสมวัย” |
รหัสโครงการ | 68-L3066-02-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านบางราพา |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปวีกรณื คลังข้อง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวนูรียะ กะจิ |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนบ้านบางราพา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 165 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 115 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาการเรียนเป็นปัญหา สำคัญที่สังคมไทยให้ความใส่ใจมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากการรายงาน สถานการณ์ IQ เด็กไทยพบว่า ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเซีย ทำให้เกิดความตื่นตัวในการดูแลเรื่องสติปัญญา รวมไปถึงความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กมากขึ้น ด้วยปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการเรียนมีหลากหลาย ทั้งจากปัญหาการดูแลครอบครัว คุณภาพ และรวมถึงปัจจัยตัวเด็กเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคจิตเวชเด็กส่งผลต่อการเรียน เช่น โรคสมาธิสั้น ซึ่งทำให้เด็กขาดสมาธิมีพฤติกรรมซนอยู่ไม่นิ่ง ไม่สามารถเรียนได้เต็มที่ตามศักยภาพ โรคทักษะการเรียนรู้บกพร่อง ซึ่งทำให้เด็กมีปัญหาการอ่านการเขียนหรือการคำนวณ และโรคบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ช้าพัฒนาการช้ากว่าเกณฑ์และพบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมร่วมด้วยได้มาก อาหารมีความสำคัญสำหรับทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียนที่ร่างกายกำลังจะเจริญเติบโตเป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้นควรกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายปริมาณเพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม ด้วยอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็ก ภาวะโภชนาการที่ดีการเจริญเติบโตพัฒนาการสมองของเด็กจะเพิ่มขึ้นการเรียนรู้ มีความสนใจต่อสิ่งรอบข้างแต่ถ้าอาหารที่ได้รับไม่เพียงพออาจทำให้การพัฒนาของสมองลดลงเรียนรู้ช้า และที่พบได้จากการแสดงออกทาง ร่างกายคือ เด็กมีภาวะน้ำหนักเกิน เด็กน้ำหนักต่ำต่ำกว่าเกณฑ์เด็กตัวเตี้ย จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนบ้านบางราพาได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะโภชนาการ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมบูรณ์วัย เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านบางราพาได้รับความรู้ด้านโภชนาการและมีภาวะโภชนาการสมวัย นักเรียนโรงเรียนบ้านบางราพาได้รับความรู้ด้านโภชนาการและมีภาวะโภชนาการสมวัยอย่างถูกต้อง |
0.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านบางราพามีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ที่เหมาะสม นักเรียนโรงเรียนบ้านบางราพามีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ที่เหมาะสม |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การจัดอบรมให้ความรู้ครูและผู้ปกครองนักเรียน | 0 | 10,000.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้นักเรียน | 0 | 5,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 15,000.00 | 0 | 0.00 |
1.นักเรียนโรงเรียนบ้างบางราพา ได้รับความรู้ด้านโภชนาการและมีภาวะโภชนาการสม
2.นักเรียนโรงเรียนบ้านบางระภามีพฤติกรรมสุขภาพ3 อ ที่เหมาะสม
3.นักเรียนโรงเรียนบ้านบางราพาที่มีภาวะเริ่มอ้วน , อ้วน, ผอมและเตี้ย ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
4.ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมตามโครงการได้รับความรู้ในการดูแลด้านภาวะโภชนาการนักเรียน
5.ครูนักเรียนและผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมตามโครงการเป็นแกนนำสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพให้กับคนในครอบครัวและบุคคลอื่นๆในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2568 11:34 น.