กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต บ้านตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,810.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.818,99.948place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และของทอดนานาชนิด ที่มักจะวางขายอยู่หน้าโรงเรียนทุกเช้าก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียน ผู้ปกครองและครูเองต่างรู้ดีว่าอาหารเหล่านั้นไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกายของเด็กในวัยกำลังเติบโต และอาจทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา แต่หากลงลึกไปกว่านั้นไม่ใช่แค่ความอ้วนที่เด็กต้องเจอ "ปัจจุบันโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มักจะเกิดจากพฤติกรรมกินอยู่ที่ไม่ถูกต้องและการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาของคนเกือบทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขหนึ่งในสามลำดับแรกของไทย ซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนี้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก เพราะสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก อาหารที่บริโภคเป็นประจำจึงกลายเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีรสจัดทั้งหวาน มัน และเค็ม ในขณะที่อัตราการบริโภคผักและผลไม้ซึ่งให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายกลับลดลง รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยวางแผนตั้งแต่วัยเด็ก
การสำรวจโครงการพัฒนาต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยดูดีมีพลานามัย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ โดยพบโรคอ้วนในเด็กมีอัตราสูงสุดในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเด็กอ้วนถึงร้อยละ ๒๐ ขณะที่เด็กอีกร้อยละ ๗๘ มีไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กอ้วนเหล่านั้นมีปัญหาความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสะสมและกลายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตทั้งสิ้น จากการดำเนินการและสร้างเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบในช่วงแรกจนถึงปี พ.ศ.๒๕๔๙ โดยได้รับความร่วมมือจากครูและผู้ปกครองซึ่งได้ผลในระดับหนึ่ง หากแต่ยังพบว่ามีเด็กที่เป็นโรคอ้วนอย่างต่อเนื่อง โดยการสำรวจในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ในเครือข่ายโรงเรียนรัฐ ๔ แห่ง พบว่า นักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ มีอัตราการเกิดโรคอ้วนร้อยละ ๒๑ ไขมันในเลือดสูงร้อยละ ๖๖ ซึ่งใกล้เคียงกับการสำรวจในการดำเนินโครงการช่วงแรก ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา ยิ่งในปัจจุบันนี้มีสิ่งเร้าอยู่รอบตัวเด็กมากไปหมด การสร้างนิสัยและความรู้เท่าทันให้เด็กได้เลือกหรือตัดสินใจเองอย่างมีเหตุผลต่อสุขภาพที่ดีของตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้การมีส่วนร่วมของผู้บริหารทุกระดับในการกำหนดนโยบาย โดยครูและผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการให้ความรู้และจัดหาอาหารที่เหมาะสม รวมทั้งควบคุมสิ่งแวดล้อมในและรอบโรงเรียนให้ปลอดจากอาหารที่เป็นภัยต่อสุขภาพและผู้ใหญ่ควรเป็นต้นแบบของการบริโภคที่ดีด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันจึงจัดให้มีการอบรมโครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ด้านโภชนาการและมีสุขภาพอนามัยที่ดี ๒. เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลตนเองที่จำเป็นสำหรับเด็กนักเรียน

นักเรียนที่มีดัชนีมวลกายเกินและผู้นำนักเรียน จำนวน 60 คน ในเขตรับผิดชอบ ของ รพ.สต.บ้านตลิ่งชันเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ .สำรวจนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายเกิน ๒ .เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
๓. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔.จัดทำแผนและดำเนินงานตามโครงการฯ ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ ๓.๑ จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการ และร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ ๓.๒ จัดอบรมโครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัยให้แก่นักเรียนที่มี ดัชนีมวลกายเกินในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ

๕. ประเมินผลกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีความรู้ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ๒. นักเรียนมีทักษะการดูแลตนเองที่จำเป็นที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2560 14:58 น.