กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่าบ้านพรุหมาก ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L8287-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านพรุหมาก
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุบ้านพรุหมาก
พี่เลี้ยงโครงการ PCU 1
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มิ.ย. 2568 30 ก.ย. 2568 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมผู้สูงอายุ เป็นแนวโน้มที่ทุกชาติทั่วโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่าทั่วโลกจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568 และ 2,000 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรโลกทั้งหมด การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และคาดว่าในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 28 สำหรับประชากรสูงอายุในจังหวัดสงขลา ในปี 2567 มีร้อยละ 18.64 ซึ่งนับได้ว่าได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์จากแนวโน้มของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้จะทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะทุกด้านมากขึ้นทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปในทางเสื่อมลง ทำให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลงเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
จากการสำรวจข้อมูลประชากร หมู่บ้านพรุหมาก จำนวน 1,195 คน พบประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 251 คน เมื่อพิจารณาผู้สูงอายุตามกลุ่มความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน (ADL) แล้วพบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 94.82 (233 คน) กลุ่มติดบ้าน ร้อยละ 1.99 (5 คน) กลุ่มติดเตียง ร้อยละ 1.59    (4 คน) และจากคัดครองความเสี่ยงด้านสุขภาพพบว่ามีความเสี่ยงด้านการมองเห็น ร้อยละ 25 เสี่ยงด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 25 และการกลั้นปัสสาวะ ร้อยละ 8.3
ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทางชมรมผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำ “ผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่าบ้านพรุหมาก ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปี 2568” ในครั้งนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพกายใจที่ดี ดูแลตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพประจำปี

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ร้อยละ 90

1.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 90

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 292 10,000.00 0 0.00
4 - 13 มิ.ย. 68 ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 242 320.00 -
4 มิ.ย. 68 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งเป็น 5 ชุดกิจกรรม ดังนี้ - การเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพในผู้สูงอายุ - ผู้สูงอายุกินดี ฟันดี ต้านโรค - ผู้สูงอายุแข็งแรง อารมณ์แจ่มใส - ผู้สูงอายุรู้เท่าทันดิจิทัล เลือกใช้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ - ความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของตนเอง 50 9,680.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพประจำปี 2.ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง คือ
2.1 เข้าถึงข้อมูลและแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
2.2 มีความรู้ ความเข้าใจมีทักษะในการสื่อสาร มีความสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม 2.3 ตัดสินใจและการจัดการตนเอง ในการปรับตัวให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2568 16:20 น.