โครงการประเมินคัดกรองเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมทางการเรียนรู้
ชื่อโครงการ | โครงการประเมินคัดกรองเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมทางการเรียนรู้ |
รหัสโครงการ | 68-L7252-01-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสวัสดิการสังคม |
วันที่อนุมัติ | 23 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 มิถุนายน 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 26 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,698.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมชาย ชูเอียด |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.636,100.416place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาความบกพร่องด้านการเรียนรู้ ใช้อธิบายลักษณะพิเศษของเด็กที่มีปัญหาในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิชาการ ภาษา และการเขียน เป็นผลมาจากระบบการทำงานที่ผิดปกติของสมองในขั้นตอนการรับรู้และสื่อสารข้อมูล ทำให้มีปัญหาเรียนยาก หรือเรียนช้ากว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในลักษณะนี้ จัดเป็น 1 ใน 9 กลุ่มเด็กที่ต้องรับการดูแลพิเศษ แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ฉลาดหรือขี้เกียจ เพียงแต่มีระบบความคิด การจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลแตกต่างจากคนอื่น พฤติกรรมทางการเรียนรู้ที่ผิดปกติ เช่น การขาดสมาธิ ความบกพร่องทางการอ่าน การเขียน หรือการคำนวณ รวมถึงความยากลำบากในการปรับตัวในห้องเรียน สามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางการศึกษาและชีวิตของเด็กในระยะยาว หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ต้น อาจนำไปสู่ปัญหาด้านอารมณ์ สังคม และการดำเนินชีวิตในอนาคต การคัดกรองและประเมินพฤติกรรมทางการเรียนรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยให้สามารถระบุปัญหาได้ตรงจุด พร้อมทั้งวางแผนการช่วยเหลือและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม บทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้ผ่านการสร้างระบบคัดกรองและประเมินผลอย่างเป็นระบบ การทำงานร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจะช่วยสร้างแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะบุคคลของเด็ก นอกจากนี้ การคัดกรองอย่างเป็นระบบยังช่วยลดความเสี่ยงในการปล่อยปละละเลยปัญหาและเพิ่มโอกาสให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์มากขึ้นในอนาคต ดังนั้น ปัญหาความบกพร่องด้านการเรียนรู้ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดย ทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562) มาตรา 50(6)(7) และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 มาตรา 16(10)(19) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2569) ที่เน้นการเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย จึงได้จัดทำโครงการประเมินคัดกรองเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมทางการเรียนรู้ เพื่อคัดกรองและช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมทางการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กให้สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่และสร้างอนาคตที่ดี ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อคัดกรองและระบุเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมหรือปัญหาทางการเรียนรู้ในระยะเริ่มต้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม
|
||
2 | เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียน โดยการให้การดูแลและช่วยเหลือในด้านอารมณ์ พฤติกรรม และการปรับตัวในสถานศึกษา
|
||
3 | เพื่อวางแผนและจัดระบบช่วยเหลือทางการศึกษาและสุขภาพอย่างบูรณาการสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
5.1 ขั้นเตรียมการ 1) ประชุมครูและบุคลากรเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน 2) จัดเตรียมแบบประเมินและแบบสอบถามสำหรับคัดกรองปัญหา 3) จัดอบรมครูเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือคัดกรอง 5.2 ขั้นดำเนินการ 1) คัดกรองนักเรียนด้วยแบบประเมินพฤติกรรมทางการเรียนรู้ (เช่น SDQ, CDI หรือแบบประเมินอื่น ๆ ที่เหมาะสม) 2) วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินเพื่อระบุเด็กที่มีปัญหา 3) ดำเนินการสัมภาษณ์เพิ่มเติมกับครูประจำชั้นและผู้ปกครอง 4) นำข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ในระยะยาว 5.3 ขั้นติดตามและช่วยเหลือ 1) วางแผนการช่วยเหลือเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan: IEP) 2) จัดกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมและทักษะการเรียนรู้ 3) ประสานงานกับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในกรณีที่จำเป็น 4) ติดตามผลการช่วยเหลือและประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน
10.1 นักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ได้รับการคัดกรองและดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม 10.2 ครูและผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลและส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม รวมถึงสุขภาพกายและใจของนักเรียน 10.3 โรงเรียนมีระบบในการติดตาม ดูแล และส่งเสริมสุขภาพนักเรียนแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ลดอัตราการเกิดปัญหาพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการเรียนตกต่ำ หรือการออกกลางคัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2568 11:31 น.