โครงการอาหารเช้าเด็กยิ้ม อิ่มท้อง
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารเช้าเด็กยิ้ม อิ่มท้อง |
รหัสโครงการ | 68-L4123-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 11 |
วันที่อนุมัติ | 25 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายภานุพงษ์ เศียรสุวรรณ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุความหมายของการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ดังนั้นการดูแลสุขภาพของเด็กในวัยเรียน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องดำเนินการทั้งในแง่การให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ การเสริมสร้างและการแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ผลปรากฏว่านักเรียน มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 20 คน ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาที่มักก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆมากมาย จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 11 เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านโภชนาการสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 11 จึงได้จัดทำโครงการอาหารเช้าเด็กยิ้ม อิ่มท้อง เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่ามีประโยชน์
พัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญาและสังคม โดยเน้นมารยาทในการรับประทานอาหารและสุขภาพอนามัยที่ดี มีความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนาให้เป็นคนที่มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่ภาวะทุพโภชนาการต่ำได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางอาหาร และมีความปลอดภัย ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | (1)กิจกรรมจัดหาอาหารเช้าให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ | 0 | 20,000.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | (2) กิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ | 0 | 0.00 | - |
- นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน
- นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2568 00:00 น.