โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์สมุนไพร
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์สมุนไพร |
รหัสโครงการ | 68-L3018-01-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล |
วันที่อนุมัติ | 30 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 กรกฎาคม 2568 - 18 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 68,415.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายกาดาฟี ดอเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.864,101.207place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี (Dengue Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่แพร่กระจายผ่านการกัดของยุงลาย Aedes aegypti และ Aedes albopictus ยุงเหล่านี้มักจะเป็นพาหะที่ทำหน้าที่ส่งต่อเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยหนึ่งไปยังผู้ป่วยคนอื่น ๆ ผ่านการกัดดูดเลือด โดยการติดเชื้อไวรัสเด็งกีสามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่ไม่ได้มีการป้องกันจากการถูกยุงกัด ทำให้โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่ายในพื้นที่ที่มียุงลายอาศัยอยู่ โดยระยะฟักตัวของโรคไข้เลือดออกอยู่ที่ประมาณ 4-10 วันหลังจากการติดเชื้อ หลังจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายมันจะกระจายไปตามระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะระบบเลือด ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดเกิดการรั่วซึมและเกิดอาการเลือดออกตามผิวหนังหรือภายในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไรฟัน จมูก หรือกระเพาะอาหาร
อาการดังกล่าวอาจนำไปสู่ภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิต อาการของโรคไข้เลือดออกเริ่มต้นด้วยไข้สูงทันที ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บเบ้าตา และอาจมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเลือดออกจากไรฟันหรือจมูก และมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อกจากการที่หลอดเลือดเกิดการรั่วซึม ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและเลือดไหลออกภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
โดยในปี 2567 ที่ผ่านมียอดผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศสูงถึง 105,250 ราย ซึ่งในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2566 สูงถึง 88 ราย และหลังจากได้ดำเนินโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์สมุนไพร พบว่าอัตราการป่วยไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแลลดลงในปี 2567 เป็น 63 ราย ยังคงพบมากในเขตหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 เพื่อความต่อเนื่องในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทางคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล จึงเล็งเห็นถึงการดำเนินโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์สมุนไพรอย่างต่อเนื่อง ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแลต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง
|
||
2 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีการทำกิจกรรมร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ส่งเสริมให้แสดงออกถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความเสียสละในรูปแบบจิตอาสา นำไปสู่การดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
|
||
3 | เพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแล
|
||
4 | เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 40 | 68,415.00 | 0 | 0.00 | 68,415.00 | |
17 - 18 ก.ค. 68 | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์สมุนไพร | 40 | 68,415.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 40 | 68,415.00 | 0 | 0.00 | 68,415.00 |
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง ร้อยละ 80
- ประชาชนมีการทำกิจกรรมร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ส่งเสริมให้แสดงออกถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความเสียสละในรูปแบบจิตอาสา นำไปสู่การดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
- ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแล
- ผู้เข้าร่วมโครงการมมีการนำสมุนไพรไปใช้ให้เกิดประโยชน์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2568 16:26 น.