โครงการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) |
รหัสโครงการ | L5259.006/2568 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบาโหย |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 6,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบาโหย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายเอกชัย รัตนมณี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.396,100.884place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 950 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เคยแพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย และภูมิภาคข้างเคียง โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และคาดว่าสถานการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้หน่วยงานทุกท้องที่เฝ้าระวังและมีมาตรการจัดการประกอบกับจะเป็นปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่งซึ่งมีสุขภาพอ่อนแอ ทั้งนี้ นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สั่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ โดยใช้เครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เคาะประตูบ้าน "หยุดเผา หยุดฝุ่น เพื่อคุณ เพื่อเรา" ในวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ส่วนนายมงคลสินยัง นายอำเภอสะบ้าย้อย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์ติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันอำเภอสะบ้าย้อย มีคำสั่งให้เร่งแก้ปัญหา พร้อมทั้งเฝ้าระวังป้องกัน อย่างเข้มงวด (สามารถติดตามข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ และคุณภาพอากาศประเทศไทย ของกรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/) อนึ่ง นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงนามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สปสช.2.73/31 ลว. 27 ม.ค. 2568 เรื่อง "ซักซ้อมความเข้าใจและขอความร่วมมือในการแก่ไขปัญหาด้านสาธารณสุขและลดผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มีเนื้อหาให้กองทุนหลักประกันสุขภาพใน
ระดับท้องถิ่นหรือฟื้นที่จัดทำโครงการรพสต.บาโหย กองสาธารณสุข อบจ.สงขลา (หน่วยบริการสุขภาพ ตามประกาศฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) ได้พิจารณาแล้วว่า หากไม่มีแผนงานรับมือและเร่งดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว ดังนี้
ผลระยะสั้น
ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กและมีปริมาณมากที่สามารถทะสุขนจมูก แทรกซึมสู่ระบบทางเดินหายใจ ทะลุผนังปอดและเข้ากระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย ผลกระทบที่รับฝุ่นเข้าไปอาจเกิดขึ้นกับร่ายกาย (ภายใน 1 2 2 วัน)ซึ่งส่วนมากจะเกิดกับระบบทางเดินหายใจ โดยมีอาการ ไอ เจ็บคอ ทายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด เลือดกำเดาไหลมีเสมหะ ซึ่งหากเลือดไหลลงคอก็จะทำให้เสมหะมีเลือดเจือปน ฝุ่นเข้าตาทำให้เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ ทำให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง แสบตา คันตา หรือระคายเคือง หากเกิดอาการเหล่านี้สามารถบรรเทาอาการด้วยวิธีประคบเย็น
หรือใช้น้ำตาเทียม บางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาโดยแพทย เพราะหายได้เองกายใน 2-3 สัปดาห์ นอกเหนือจะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ยังมีผลกระทบต่อผิวหนังของเราอีกด้วย กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรค ผิวหนัง เปิดเผยว่า อนุภาคของฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PMM 2.5 สามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่าง ๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนังโดยตรง และทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติไปผลสะสมจนอาจเกิดโรคในระยะยาวองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) กำหนดให้ PM 2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็งตั้งแต่ปี 2556 และชี้ว่าคน 9 ใน 10 กำลังหายใจนำอากาศอันเป็นพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำทุก ๆ ปี ประชากรโลก
กว่า 7 ล้านคน เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้อายุชัยเฉลี่ยของประชากรลดลง แก่เร็วและอายุสั้นลง แถมยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง ได้แก่
โรคหลอดเลือดในสมอง การเผชิญหน้ากับมลพิษทางอากาศระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัดความดันโลหิตสูงขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น และความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในสมองได้อันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด
โรคหัวใจขาดเลือด
อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมตะกอนที่เรียกว่า พลาค (Plaque) เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงเฉียบพลัน นื้อหัวใจได้ รวมทั้งหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรงขึ้น อัตราการผันแปรการเต้นข
และหลอดเลือดสมองตีบจนถึงตายได้
ผิวเสื่อมชรา
การศึกษาในประเทศเยอรมันนีและประเทศจีน พบว่า การสัมผัสฝุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วขึ้น พบการเกิดจุดต่างดำเพิ่มมากขึ้นบริเวณใบหน้า และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- รพสต.บาโหยจัดทำโครงการตามประกาศฯ ข้อ 10 (1) สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการธารณสุขของหนวยบริการ หรือสถานบริการ หรือหนวยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ในการป้องกันโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือข้อ(5) สนับสนุน และสงเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป่องกัน และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อพิจารณา
- สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด/เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสียงต่อการเกิดโรคได้ง่ายเป็นต้น
- จัดให้มีการอบรม สื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างความรอบรู้แก่ประชนในพื้นที่ โดยติดต่อหน่วยงานสามารถให้ความรู้ในการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
- ดูแลสุขภาพและจัดระบบบริการสาธารณสุข โดยสนับสนุนหนากากอนามัยมาตรฐาน/หน้ากากอนามัยN95 ตามวิธีการป้องกันของกระทรวงสาธารณสุข
- เฝ้าระวังการเจ็บป่วย ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบผิวหนัง, ระบบตาและอื่นๆ รวมทั้งผลกระทบในระยะยาว เช่น โรคมะเร็ง รวมถึงเฝ้าระวังและตอบโต้ข่าวที่เป็นเท็จและแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่ทราบเป็นระยะ
- สรุปผลการคำเป็นงาน และราธงานให้คมะกรรมการกองทุนฯ ทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2568 10:47 น.