กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างพัฒนาการและภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 6 ปี ต.ศาลาใหม่ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2487-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 39,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัตมา วาเด็งพงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนันมามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการในช่วงวัยแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี จะมีความสำคัญมา เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีจะกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้สติปัญญาพัฒนาช้า ลดทอนศักยภาพ และคงความยากจนต่อไป จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี ของภาคใต้ไตรมาศที่ 4 ปี 2554 พบว่าเด็กอายุ 0-6 ปี มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 9.91 และพบว่าเด็กอายุ 0-6 ปี มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10.24โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี จากสถานการณ์ปัญหาด้านโภชนาการทั้งการขาดและเกินมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กันหลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ มี 4 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การควบคุมด้านปริมาณและคุณภาพอาหาร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการกำหนด และดำเนินนโยบาย และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการจัดการองค์ความรู้ก่อเกิดองค์ความรู้ต่างๆ จากการประเมินการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ไตรมาศที่ 4 พ.ศ. 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนทั้งหมด793 คน พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 (เพิ่มขึ้นจากไตรมาศที่ 4 ปี 2559 ที่พบจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 2.32) มีการดำเนินกิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่ก็ยังพบว่าเป็นปัญหาอยู่เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้น รับประทานอาหารไม่ครบมื้อหลัก ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน 5 หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาศึกษา ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน ประกอบกับ ปี 2560 ยังพบเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2500 กรัม (LBW : Low birth weight) จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 9.28 (ลดลงจากปี 2559 ที่พบจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 10.90) ซึ่งอาจส่งผลต่อการภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมในเด็กอายุ 0-6 ปี
  1. เด็กอายุ 0-6 ปีที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมลดลงจากปี 2560 อย่างน้อยร้อยละ 50
0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลภาวะโภชนาการในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี

เด็กอายุ 0-6 ปี มีประวัติภาวะโภชนาการสมส่วน มากกว่าร้อยละ 75

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ ๒,๕๐๐ กรัม (LBW:Low birth weight) ในด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ

พ่อ/แม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) ในปี 2560 และ สามารถประเมินพัฒนาการในช่วงที่เด็กอายุ 9 เดือน และ 18 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐาน DSPM ด้วยตัวเองได้ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,500.00 1 7,500.00
23 เม.ย. 61 กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 0 7,500.00 7,500.00
22 พ.ค. 61 กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม 0 3,000.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. อสม.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย และครูพี่เลี้ยงใน ศพด. และอสม. มีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ทุกๆ 3 เดือน 2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 3. ประชาสัมพันธ์ ติดตามกลุ่มเป้าหมาย และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านอสม. และผู้นำชุมชน ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ 4. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการ พัฒนาการ (EQ, IQ) การดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และสาธิตการทำอาหาร ในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองพร้อมเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.)/ผอม (เฉพาะกลุ่มในหมู่บ้านไม่รวมกับกลุ่มในศพด.) จำนวน 30 คน และมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังจัดกิจกรรม 5. นำเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการพบแพทย์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ พร้อมยาถ่ายพยาธิ 6. จัดกิจกรรมเสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และ ผอม จำนวนทั้งหมด 30 คน ด้วยอาหารเสริม/ยาเสริมธาตุเหล็ก/วิตามินเสริม คนละ 1 ชุด พร้อมเฝ้าระวังติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 7. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) ด้วยชุดทดสอบพัฒนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ตามมาตรฐาน DSPM จำนวน 18 คน (18 ชุด) แก่พ่อ/แม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) ในปี 2560 พร้อมสอนวิธีการใช้ชุดทดสอบฯ และเฝ้าระวังติดตามส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามเกณฑ์อายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 9 เดือน และช่วงอายุ 18 เดือนโดยตรวจ บันทึก และติดตาม โดยจนท. ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 8. ประเมินผลสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ 9. อสม. สามารถเฝ้าระวังภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง 10. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโภชนาการในพื้นที่ ติดตามและเยี่ยมบ้านดูแลกลุ่มเป้าหมายเดือนละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่พบอัตราเด็กอายุ 0-6 ปี ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน ผอมและน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 2. ผู้ปกครองสามารถดูแลภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 0-6 ปีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2561 14:49 น.