โครงการการป้องกันและควบคุมโรคที่นำโดยแมลง
ชื่อโครงการ | โครงการการป้องกันและควบคุมโรคที่นำโดยแมลง |
รหัสโครงการ | 68-L8278-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา |
วันที่อนุมัติ | 2 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 72,490.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลบันนังสตา |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.25,101.233place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 13 มิ.ย. 2568 | 13 มิ.ย. 2568 | 72,490.00 | |||
รวมงบประมาณ | 72,490.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 495 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของอำเภอบันนังสตาตลอดมา เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลงในตำบลบันนังสตามากที่สุด ได้แก่ โรคไข้เลือดออกและ โรคมาลาเรียพบในกลุ่มวัยเด็กนักเรียนมากที่สุดและรองลงมาคือกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งกลุ่มวัยทำงานจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษเนื่องจากกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้นำครอบครัวหากมีการเจ็บป่วยจะส่งผลกระทบต่อรายได้ในครอบครัวจนเกิดเป็นนปัญหาด้านอื่นๆอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และปัจจุบันยังพบผู้ป่วยตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งมีสาเหตุการเกิดโรคพบว่าในชุมชนมีค่า HI CI ที่เกินมาตราฐานเนื่องจากประชาชนขาดความรู้และความตระหนักในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่นำโดยแมลงที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคติดต่อที่นำโดยแมลงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์โรคที่นำโดยแมลงและสถิติการแพร่ระบาดของโรคเขตตำบลบันนังสตา ปี พ.ศ 2565-2567 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกปี 2565 จำนวน 0 ราย อัตราป่วย 0 ต่อแสนประชากร ปี 2566 พบผู้ป่วย จำนวน 52 ราย อัตราป่วย 423.17 ต่อแสนประชากรและพบผู้ป่วยปี 2567 จำนวน 41 ราย อัตราป่วย 299.18 ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วยโรคมาลเรียปี 2565 จำนวน 3 ราย อัตราป่วย 21.93 ต่อแสนประชากร ปี 2566 พบผู้ป่วย จำนวน 13 ราย อัตราป่วย 95.05 ต่อแสนประชากรและพบผู้ป่วยปี 2567 จำนวน 0 ราย อัตราป่วย 0 ต่อแสนประชากร
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่นำโดยแมลงในชุมชนหน่วยงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลบันนังสตาจึงได้จัดทำ“โครงการการป้องกันและควบคุมโรคที่นำโดยแมลง”เพื่อสร้างกระแสและเป็นกำลังเสริมในด้านการป้องกันโรคและลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่นำโดยแมลงให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาน มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงการป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลง 1.ร้อยละ80ของประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคโรคติดต่อที่นำโดยแมลง |
||
2 | 2.เพื่อให้ชุมชนมีค่า HI CI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2.HI CI=ไม่เกิน ๑๐ |
||
3 | ๓.เพื่อให้ชุมชนมีบ้านต้นแบบ ๓.ชุมชนมีบ้านต้นแบบหมู่ละ 1 บ้าน |
ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและครอบครัวและสามารถนำไปเผยแพร่สู่ชุชนใกล้เคียงเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2568 10:39 น.