กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68- L1536-1008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 31 ตุลาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 15,015.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักเลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม

เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ..โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร..

เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม

ด้วย หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ( ระบุชื่อ) องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม โดย สำนักปลัด มีความประสงค์จะจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร        ในปีงบประมาณ 2568 โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม เป็นเงิน  15,015  บาท โดยมีรายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมดังนี้

ส่วนที่ 1 : รายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ( สำหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมลงรายละเอียด)

  1. หลักการและเหตุผล

    สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลปากแจ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่การเกษตรมากถึงร้อยละ8 0 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน    สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ทำให้ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช กระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม ได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้น โดยมีเกษตรกรและแรงงานนอกระบบเข้ารับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดทั้งหมดจำนวน 77 คน พบผลการตรวจสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับปกติ คิดเป็น 32 เปอร์เซ็นต์, ระดับปลอดภัย คิดเป็น 37 เปอร์เซ็นต์, ระดับมีความเสี่ยง คิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ และระดับไม่ปลอดภัย คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม จึงเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 66 ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี  เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด ปีงบประมาณ  พ.ศ. 2568 ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง


    /2. วัตถุประสงค์..... -2-

  2. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด/กลุ่มเป้าหมาย 2.1 วัตถุประสงค์         (1) เพื่อให้เกษตรกรและแรงงานนอกระบบได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด   (2) เพื่อให้ได้รับความรู้ ให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช 2.2 ตัวชี้วัด
    • เกษตรกรและแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลปากแจ่ม จำนวน 70 คน
      2.3 กลุ่มเป้าหมาย ( ระบุกลุ่มเป้าหมายและจำนวนคน ) ด้านปริมาณ

- เกษตรกรและแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพ ตำบลปากแจ่ม จำนวน 70 คน ด้านคุณภาพ 1) เกษตรกรและแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลปากแจ่ม ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 2) เกษตรกรและแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลปากแจ่มได้รับความรู้และตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง และลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร โดยหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช

  1. วิธีดำเนินการ   3.1 ขั้นเตรียมการ 3.1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
    3.1.2 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม 3.1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง   3.2 ขั้นดำเนินการ 3.2.1 เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี 3.2.2 บันทึกสุขภาพเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด รักษาโดยใช้สมุนไพรและนัดติดตามผลอย่างต่อเนื่อง   3.2.3 จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี   3.3 ขั้นสรุปโครงการ 3.3.1 สรุปผลโครงการ


  2. ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2567 – กันยายน 2568

  3. สถานที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 7


    /6. งบประมาณ.......

-3- 6. งบประมาณ   จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่มเป็นเงิน 15,015 บาท รายละเอียด ดังนี้ 1. เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี
  1.1) ค่ากระดาษตรวจโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 2 ชุดๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท (จำนวน 100 ชิ้น/ชุด)   1.2) เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 1 กล่องๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน  900 บาท ( 1 กล่อง มี 200 ชิ้น)   1.3) capillary tube จำนวน 1 กล่องๆ ละ 900 บาท  เป็นเงิน  900 บาท
(1,000/กล่อง)   1.4) แอลกอฮอล์ 70% จำนวน 2 ขวดๆ ละ 60 บาท  เป็นเงิน 120 บาท (ขนาด 450 ซีซี)   1.5) สำลีก้อนเล็ก จำนวน 1 ถุงๆ ละ 150 บาท  เป็นเงิน 150 บาท (ขนาด 450 กรัม)   1.6) ถุงมือดิสโพสเบอร์ M จำนวน 3 กล่องๆ ละ 180 บาท  เป็นเงิน 540 บาท (50 คู่/กล่อง)   1.7) ดินน้ำมันดูดหลอด capillary จำนวน 1 กล่องๆ ละ 950 บาท เป็นเงิน  950 บาท (10 แพ็ค/กล่อง)   1.8) กระจกสไลด์ใส จำนวน 2 กล่องๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน  300 บาท (จำนวน 72 ชิ้น/กล่อง)   1.9) ค่ายาสมุนไพรรางจืด จำนวน 25 กระปุกๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
( 1 กระปุก = 100 เม็ด)

  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี   2.1) ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2  2.4 เมตร เป็นเงิน  430 บาท   2.2) ค่าตอบแทนวิทยากรในหน่วยงานสาธารณสุข จำนวน 3 คน  เป็นเงิน 2,700 บาท
      (คนละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท)   2.4) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท      เป็นเงิน 1,875 บาท       (จำนวน 75 คน)
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  15,015  บาท

  2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ   7.1 เกษตรกรและแรงงานนอกระบบที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งรักษาต่อ 7.2 เกษตรกรและแรงงานนอกระบบที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2568 14:48 น.