กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลท่ากำชำ
รหัสโครงการ 68-L3066-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ากำชำ
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 17,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญยา แวโต
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนูรียะ กะจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคลากรสำคัญที่มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับชุมชน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและประชาชน อสม. มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค และการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ระบบสาธารณสุขของไทยจะมีความเข้มแข็งได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เน้นให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกำหนดแนวทาง การบูรณาการการสาธารณสุขมูลฐาน และระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทย ในประเด็นการรักษา การจัดการสภาพแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็งระบบสุขภาพภาคประชาชนและเป็นไปตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.๒๕๖๒ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุข ในการดูแลด้านสุขภาพประชาชนเบื้องต้น แบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ ที่มีประสิทธิภาพ ควรได้รับการเติมเต็มศักยภาพของ อสม.และบุคลากรทุกระดับ ให้มีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เจ็บป่วยน้อยลง โดยกำหนดการพัฒนาศักยภาพ อสม. เป็น อสม.หมอประจำบ้าน หรือ หมอคนที่ ๑ ตามนโยบาย "คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว ๓ คน" มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมและเป็นพี่เลี้ยง ให้ อสค. ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคใน พื้นที่ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ ลดอัตราการป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต การป้องกันแก้ไขปัญหาและอุบัติเหตุ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้ประชาชน มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ ประเมินสุขภาพโดยร่วมเป็นทีมหมอครอบครัว จัดการปัญหาสุขภาพ ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน รวมทั้งการส่งต่อผู้ป่วยไปยังระบบบริการที่รัฐจัดให้ อีกทั้งยุทธศาสตร์ระดับชาติระยะ ๖๐ ปีและเป้าประสงค์การพัฒนาคุณภาพชีวิต ทุกกลุ่มวัย ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถช่วยเหลือตนเอง พึ่งตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สถานการณ์ทางสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งจากโรคระบาดใหม่ ความชับช้อนของโรคไม่ติดต่อ และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น โรคเรื้อรังและปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลให้อาสาสมัครต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่ต้องการความรู้และทักษะที่ทันสมัย ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในความรับผิดชอบ จึงควรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้-ความเข้าใจสามารถร่วมรับรู้-วางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตามบริบทของพื้นที่ในชุมชนที่อาศัยอยู่ ฉะนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และความสามารถของ อสม. ให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในชุมชน การป้องกันและควบคุมโรค การสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนัก และการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินโครงการนี้ไม่เพียงช่วยพัฒนา อสม. ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น แต่ยังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพในชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมที่มีสุขภาพดีในระยะยาวอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการเฝ้าระวังสุขภาพในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,500.00 0 0.00 17,500.00
1 - 30 มิ.ย. 68 การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 0 6,300.00 - -
1 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติจริง 0 11,200.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 17,500.00 0 0.00 17,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ด้านความรู้และทักษะของ อสม.
ㆍอสม. มีความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพชุมชน
ㆍอสม. มีทักษะในการสื่อสารและสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในชุมชน
ㆍอสม. สามารถวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของชุมชนและหาแนวทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
๒. ด้านคุณภาพชีวิตในชุมชน
ㆍประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย และการป้องกันโรค
ㆍลดอัตราการเกิดโรคที่ป้องกันได้ในชุมชน เช่น โรคติดต่อและโรคเรื้อรัง เป็นต้น
๓. ด้านการทำงานร่วมกัน
ㆍเกิดความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่าง อสม. หน่วยงานด้านสาธารณสุข และประชาชนในชุมชน ㆍ ระบบเครือข่าย อสม. ในพื้นที่มีความเข้มแข็งและสามารถทำงานแบบบูรณาการได้ ๔. ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ㆍชุมชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเองและสะสามารถพึ่งพาตนได้ ㆍเกิดต้นแบบการพัฒนา อสม. และชุมชนที่สามารถนำไปปรับใช้ใช้ในพื้นที่อื่นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2568 13:50 น.