โครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) สำหรับประชาชนทั่วไป
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) สำหรับประชาชนทั่วไป |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านควน |
วันที่อนุมัติ | 10 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มิถุนายน 2568 |
งบประมาณ | 23,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุปาณี ดำจุติ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.529,99.636place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 23,700.00 | |||
รวมงบประมาณ | 23,700.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลปัญหาสาธารณสุข ปี 2566 -2567 พบว่าประชาชนในหมู่ที่ 1 – 6 ตำบลบ้านควน เสียชีวิตด้วยโรคฉุกเฉินใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง , โรคความดันโลหิตสูง , อุบัติเหตุและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังพบว่าเกิดอุบัติการณ์ของตำบลบ้านควน มีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทั้งจากอุบัติเหตุทางถนน จมน้ำ และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน การช่วยเหลือที่ถูกวิธี จะทำให้ลดอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งในสภาวะปัจจุบันตามข่าวพบว่ามีดารา คนดัง หรือประชาชนทั่วไปเกิดภาวะฉุกเฉินดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือทันที ณ ที่เกิดเหตุจึงทำให้สถิติการเสียชีวิตและพิการเพิ่มขึ้น จากการศึกษาวิจัยห่วงโซ่การรอดชีวิตพบว่าหากมีการช่วยชีวิตนอกโรงพยาบาลจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้ถึงร้อยละ 66 และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาลถึงร้อยละ 26 ดังนั้น การสนับสนุนประชาชนให้มีการฝึกทำ CPR หรือการช่วยฟื้นคืนชีพให้เป็นทุกคน จะสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เพราะการทำ CPR เป็นหน้าที่ของทุกๆคน ไม่ใช่เฉพาะแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาล หากหัวใจหยุดเต้นจะมีเวลาเพียงไม่กี่นาทีก่อนสมองจะขาดออกซิเจน แต่ขณะนั้นหากไม่มีการทำ CPR ก็อาจส่งผลให้สมองตาย ประสิทธิภาพของการกู้ชีพจะดีขึ้นถ้ามีการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) กับผู้ป่วย ทำให้หัวใจกลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง ซึ่งในเขตอำเภอปะเหลียน พบว่ามีการติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ในพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มได้รับสนับสนุนเครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) จากสภากาชาดเพิ่มในอำเภอเมืองตรัง จึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องมือดังกล่าวให้เป็นประโยชน์สูงสุด ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านควน จึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ และฝึกทักษะการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติให้กับประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ เพื่อมีความชำนาญเมื่อพบเหตุฉุกเฉิน สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Frist Aid) และช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) รวมถึงใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ได้ทันที จึงได้จัดทำโครงการอบรมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) สำหรับประชาชนทั่วไป ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ประชาชนทั่วไปมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ |
80.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนในหมู่ที่ 1-6 ตำบลบ้านควน มีอัตราการเสียชีวิตและพิการลดลง ประชาชนในหมู่ที่ 1-6 ตำบลบ้านควน มีอัตราการเสียชีวิตและพิการลดลง |
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 23,700.00 | 0 | 0.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมทักษะความรู้ด้านวิชาการ โรคฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เป็นปัญหาและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) | 60 | 23,700.00 | - |
- เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉินหยุดหายใจ ประชาชนทั่วไปที่ผ่านการอบรมสามารถกู้ชีพเบื้องต้นได้
- ประชาชนทั่วไปที่ผ่านการอบรม สามารถเป็นแกนนำให้ความรู้เรื่องการใช้เครื่อง AED ในสถานที่สาธารณะได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2568 15:05 น.