โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L5166-68-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหลา |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายทัยรงค์ ปิ่นทองพันธุ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอดินันต์ ยามาสัน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.882,100.31place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อนำโดยแมลง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อีกทั้งการเจ็บป่วยอาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะพบผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากบริเวณ บ้าน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และวัด ล้วนมีภาชนะน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย หากประชาชนขาดความรู้ ความตระหนัก ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ล้วนส่งผลให้อัตราการป่วย และการสูญเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มจำนวนขึ้นในทุกๆปี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2564 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 6 ราย อัตราป่วย 22.16 ต่อประชากรแสนราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ปี พ.ศ.2565 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย อัตราป่วย 44.33 ต่อประชากรแสนราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ปี พ.ศ.2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 114 ราย อัตราป่วย 421.13 ต่อประชากรแสนราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย และปี พ.ศ.2567 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 62 ราย อัตราป่วย 228.07 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยมีอัตราป่วยมาเป็นลำดับ 8 ของจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2567)
สถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2564 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวนทั้งสิ้น 1 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ปี พ.ศ.2565 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวนทั้งสิ้น 1 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ปี พ.ศ.2566 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวนทั้งสิ้น 1 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต และปี พ.ศ.2567 ไม่พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย (ข้อมูลจากระบบมาลาเรียออนไลน์ กลุ่มงานโรคติดต่อนำโดยแมลง สคร.ที่12 สงขลา ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568)
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นความความรุนแรงของการเกิดโรค และความสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่ง อสม.และแกนนำชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรีย ช่วยในการเป็นผู้นำสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำลายภาชนะขังน้ำ กำจัดขยะรอบๆบ้านที่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดน้ำขัง จัดเก็บสิ่งของภายในบ้านและรอบบ้านให้เป็นระเบียบ ช่วยประชาสัมพันธ์ถึงความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ การป้องกัน,อาการ และการปฏิบัติตนเมื่อมีอาการต้องสงสัยโรคติดต่อนำโดยแมลง รวมถึงเฝ้าระวังในชุมชน หากพบผู้ป่วยมีอาการไข้สูงลอยหนาวสั่น ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแนะนำผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
- อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลงปี 2568 ลดลง
- ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลงในปี 2568
- องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทุกหลังคาเรือน
- ดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2568 15:39 น.