กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพใจ ผู้สูงวัยสุขภาพดี
รหัสโครงการ 68-L4134-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบันนังสาเรง
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 64,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนุอมาน วาเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายบิซมี มะเสะ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึงคนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย ปัจจุบันพื้นที่ตำบลบันนังสาเรง มีผู้สูงอายุจำนวน 779 ราย เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุ มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนางานด้านสาธารณสุขทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้น และมีอายุยืนยาวทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพและดูแลเอาใจใส่เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติมาก่อนสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลาน แต่ปัจจุบันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้นทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข จึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต รวมถึงการใส่ใจในเรื่องของการนำผู้สูงอายุออกจากห้องหรือสถานที่เดิมๆ ไปรับชมสิ่งสวยงาม พบเจอสิ่งแปลกใหม่ ได้เปิดรับประสบการณ์รับที่แปลกใหม่ จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตใจ ความสุข และความสัมพันธ์ที่ได้ในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุมีจิตใจแจ่มใส เติมพลังใจให้พร้อมต่อการมีชีวิตต่อไปด้วย ดังนั้น ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบันนังสาเรง ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพใจ ผู้สูงวัยสุขภาพดี เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างความรู้ให้กับผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพของตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ด้านการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อตนเองครอบครัวและชุมชน จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีสุขภาพอนามัย ที่พึงประสงค์ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ตามความเหมาะสม

 

2 เพื่อส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในบั้นปลายชีวิต

 

3 เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุและผู้ดูแลทำกิจกรรมร่วมกัน

 

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้แสดงศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมชี้แจงและวางแผนการดำเนินโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
  3. ประสานกับผู้เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. ดำเนินตามโครงการ
  5. สรุป ประเมินผลดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ สามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้
  2. ผู้สูงอายุ ได้รับการสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  3. ผู้สูงอายุ มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถและประสบการณ์  ในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2568 10:21 น.