โครงการเครือข่าย SRRT ควบคุมป้องกันโรคเข้มแข็ง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเครือข่าย SRRT ควบคุมป้องกันโรคเข้มแข็ง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4134-1-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลบันนังสาเรง |
วันที่อนุมัติ | 30 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 94,410.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมาหามะรุสดี กอร์เดร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวซอฟียะห์ เตะหมัดมะ |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระหว่างกระทรงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องท้องถิ่นให้เกิดระบบเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทันเหตุการณ์ โดยกำหนดคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ๕ ด้าน ประกอบด้วยมีคณะกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ มีระบบระบาดวิทยาระดับอำเภอที่ดี มีการวางแผนป้องกัน ควบคุมโรคภัยสุขภาพ มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันโรคที่สำคัญ โดยกรมควบคุมโรคจัดกระบวนการระดมความคิดเห็น สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หลักคิด ประโยชน์และแนวทางการพัฒนา “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” กับเครือข่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอาสาสมัครสาธารณสุข โรงเรียน กลุ่มผู้นำชุมชน และประชาสังคม
โรคระบาดที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลบันนังสาเรง คือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา และจังหวัดยะลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยตำบลบันนังสาเรง มีอัตราป่วย ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 41 ราย คิดอัตราป่วย 499.45 ต่อแสนประชากรปี 2567 จำนวน 16 ราย คิดอัตราป่วย 193.44 ต่อแสนประชากร การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน สิงหาคม – ธันวาคม ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบันนังสาเรง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการควบคุมโรคเข้มแข็งระดับตำบลในการเฝ้าระวังการเกิดโณคระบาดในระดับชุมชน เพื่อใช่ประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้เกิดประสิทธิภาพและบูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ไข้ปัญหาจึงจัดทำโครงการเครือข่าย SRRT ควบคุมป้องกันโรคเข้มแข็ง ปี ๒๕๖๘ นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร |
||
2 | เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน
|
- จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บันนังสาเรง
- ประชุมทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (SRRT) ตำบลบันนังสาเรง
- จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
- จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายร่วมกับเครือข่ายในชุมชน
- สรุปผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน
- พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ครั้ง
- จัดทีมอาสาสมัครสาธารณสุข ออกพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัยในกรณีพบผู้ป่วย/สงสัยป่วยในพื้นที่ ภายใน 24 ชม. จำนวน 4 ครั้ง (Day 0,1,3,7)
- ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร
- ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 (HIน้อยกว่า10) 3.ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียนไม่เกินร้อยละ 10 (CI=0) 4.ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2568 14:13 น.