โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยใน 4 มิติ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยใน 4 มิติ |
รหัสโครงการ | 68-L4134-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังบูโย |
วันที่อนุมัติ | 30 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 47,670.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังบูโย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอมาณี มะเกะ |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เด็กปฐมวัย ด้านสุขภาพ 4 ด้าน (4D) มีผลการ ประเมินทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การเจริญเติบโตและโภชนาการ (Diet) ด้านที่ 2 พัฒนาการเด็กและการเล่น: (Development and Play) ด้านที่ 3 สุขภาพช่องปากและฟัน (Dental) และด้านที่ 4 ด้านสิ่งแวดล้อมความ ปลอดภัยและการป้องกันควบคุมโรค (Disease) จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ปี2567 (ที่มา:รายงาน HDC จังหวัดยะลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังบูโย ได้ดำเนินงาน 4D ใน เด็ก 0 -5 ปี ได้รับการบริการครอบคลุมทั้ง 4 กิจกรรม ( โภชนาการ, พัฒนาการ, ทันตกรรม, วัคซีน ) กำหนดตัวชี้วัดงาน 4D ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40 ซึ่งผลการดำเนินงานเด็ก 0 – 5 ปี ทั้งหมด 686 คน ได้รับ 1 กิจกรรม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 ได้รับ 2 กิจกรรม จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 24.05 ได้รับ 3 กิจกรรม จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 25.21 และได้รับ 4 กิจกรรม จำนวน 347 คน คิดเป็นร้อยละ 50.58 จากผลการดำเนินงานสะท้อนให้เห็นว่า เด็กปฐมวัยในตำบลบันนังสาเรง ได้รับกิจกรรมด้านสุขภาพ 4 ด้าน (4D) ครบ 4 ด้าน ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 4 กิจกรรม ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ในตำบลบันนังสาเรง เพื่อเด็ก 0 – 5 ปีได้รับกิจกรรมครอบคลุม ทั้ง 4 กิจกรรม จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยใน 4 มิติ”เพื่อส่งเสริมให้บิดามารดาและผู้ปกครองได้มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการให้อาหารเสริมตามวัยรวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการของลูก การดูแลสุขภาพช่องปาก และการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับการดูแลและมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ พัฒนาการที่สมบูรณ์เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 -5 ปี ในกิจกรรมด้านสุขภาพ 4 ด้าน ร้อยละ 80 ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมมีทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสม และได้รับการส่งเสริมสุขภาพกิจกรรมด้านสุขภาพ 4 ด้าน |
จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย อบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยใน 4 มิติ” ในผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ในตำบลบันนังสาเรง จำนวน 342 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 3 รุ่น ๆละ 114 คน
- ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็กตามวัย มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และพัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
- ผู้ปกครองเล็งเห็นถึงความสำคัญและเกิดความตระหนักในการนำเด็กไปรับบริการวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดไว้ ร้อยละ 90
- ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2568 15:13 น.