โครงการอบรมแกนนำครอบครัวดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงและโรค NCD's
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมแกนนำครอบครัวดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงและโรค NCD's |
รหัสโครงการ | 68-L3314-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอนุตรา ทิพย์เกษร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.525,100.145place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 350 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างรวดเร็ว โดยมีแนวโน้ม ว่าภายในไม่กี่ปีข้างหน้า สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงทวีความรุนแรงมากขึ้นนอกจากนี้ยังพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์Non-Communicable Diseases: NCD's) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคทางระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง กำลังกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและเป็นภาวะต่อระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้ป่วยโรค NCD's จำนวนมากต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดทั้งในด้านการรักษาการฟื้นฟูสมรรถภาพการดูแลสุขภาพจิตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตซึ่งหากปราศจาก การสนับสนุนจากครอบครัวหรือชุมชนแล้วผู้ป่วยเหล่านี้อาจประสบปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนและเสื่อมสมรรถภาพเร็วขึ้นนำไปสู่ภาวะพึ่งพิงในชีวิตประจำวันในขณะที่ระบบบริการสุขภาพของรัฐอาจไม่สามารถครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยระยะยาวไม่ไม่ได้อย่างทั่วถึง ครอบครัวจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามครอบครัวส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องในการดูแลผู้ที่ภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบองค์รวมที่ไม่เพียงแต่เน้นการรักษาด้านร่างกายแต่ต้องครอบคลุมถึงมิติด้านจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสามารถดำรงชีวิตในครอบครัว และชุมชนได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการส่งเสริมบทบาทของครอบครัวผ่านการพัฒนา "แกนนำครอบครัว" ให้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยvอย่างรอบด้านจึงเป็นแนวทางที่สำคัญและจำเป็นโดยมุ่งหวังให้แกนนำเหล่านี้สามารถเป็นผู้นำในการดูแลสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้และเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วม(Community-Based Care) และเป็นรากฐานของการสร้างสังคมแห่งการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยอย่างยั่งยืนในระยะยาว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงและโรค NCD's แบบองค์รวมแก่แกนนำในครอบครัว ประชาชนในครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองตามกลุ่มวัย มีการขยายเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ |
||
2 | เพื่อพัฒนาแกนนำครอบครัวให้มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพประจำครอบครัว ร่วมกับภาคีเครือข่าย |
||
3 | เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยระยะยาว
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
จัดอบรมเชิงทฤษฎีและอบรมเชิงปฏิบัติ จำนวน 3 วัน - อบรมเชิงทฤษฎี - อบรมเชิงปฏิบัติ
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
- ครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วย NCD's และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดภาระการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ
- เกิดเครือข่ายแกนนำครอบครัวดูแลสุขภาพในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2568 09:40 น.