กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สมุนไพรทำลูกประคบ (ลดปวด ลดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ) ตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สมุนไพรทำลูกประคบ (ลดปวด ลดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ) ตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ L3030-68-01-0006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปิตูมุดี
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัมซารีน่า เจะกาเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพมีมาดั้งเดิมอยู่คู่กับประเทศไทยมานาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะ ด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาอและองค์ความรู้ การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนนั้นไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอด ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นการนำพืชสมุนไพรมาใช้ได้ทั้งในแง่การนำมารับประทานเปผ้นอาหาร เช่น การรับประทานพืชผักหรือนำมาประกอบเป็นอาหาร นอกจากนั้นยังนำมาเป้นยารักษาโรค เวลาเกิดอาการเจ็บป่วยได้อีกด้วย จากรายงานผู้มารัับบริการในคลินิกผุ้ป่วยนอกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดีในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า 5 อันดับโรคที่มีผู้มารับบริการมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอันดับแรก สุงที่สุด รองลงมา มาด้วยอาการไข้หวัดและโรคผิวหนังตามลำดับ โดยอาการปวดกล้ามเนื้อสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน หรือมีปัญหาด้านดารยศาสตร์ ปัญหาสุขภาพที่มาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นสิ่งที่้หลายคนได้รับผลกระทบโดยเฉพาะงานที่มีลักษณะจะต้องทำแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จำเจ เป็นระยะเวลานาน ซึ่งเหล่านีั้เป็นปัจจัยเสริมด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่ออาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อของคนในชุมชน   ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้สมุนไพรทำลูกประคบ (ลดปวด ลดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ) ตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปััตตานี เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้และรู้จักการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ทำลูกประคบช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ตลอดจนสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ตามศักยภาพของบุคคลและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และรู้จักใช้สมุนไพรพื้นบ้านได้อย่างถูกต้องและสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

2 เพื่อให้ประชาชนสามารถทำลูกประคบสมุนไพรใช้ด้วยตนเอง

 

3 เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองที่มีอาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อและสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องตนได้ตามศักยภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สมุนไพรทำลูกประคบ (ลดปวด ลดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ)(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) 0.00                        
รวม 0.00
1 โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สมุนไพรทำลูกประคบ (ลดปวด ลดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรรอบตัว 2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำลูกประคบสมุนไพรใช้ได้ด้วยตนเอง 3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำลูกประคบสมุนไพรมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ตลอดจนสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องตนได้ตามศักยภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2568 00:00 น.