กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์จัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อสุขภาพที่ดี
รหัสโครงการ 68-L3067-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 23,776.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุบล วัฒนศักดิ์ภูบาล
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศซึ่งสาเหตุหนึ่งนั้นเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะและการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่จะทิ้งลงตามสถานที่สาธารณะ หรือทิ้งลงตามแม่น้ำ ลำคลอง โดยนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ได้กำหนดให้การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นลำดับแรก โดยให้ดำเนินการตาม Road map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อกำจัดมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดในพื้นที่วิกฤต สร้างรูปแบบการกำจัดขยะและของเสียอันตรายที่เหมาะสม วางระเบียบมาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย และสร้างวินัยของคนในชาติ ให้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” โดยมุ่งเรื่องการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งการรีไซเคิล และการแปรรูปเป็นพลังงานภายใต้หลักการ ๓ ช : ใช้น้อยลง ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ (๓Rs : Reduce Reuse Recycle)ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อสร้างความสมดุลและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และยังเป็นการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ไขปัญหาขยะ ตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ที่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือการลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและกำจัดให้หมดไปการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งการลดปริมาณขยะเปียก หรือเศษอาหารที่มีปริมาณน้ำหนักมากที่สุด จะช่วยลดปัญหากลิ่นน้ำเสียจากการเก็บขนขยะ ลดภาระงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากบ่อฝังกลบอีกทั้งขยะเปียกที่เปลี่ยนเป็นสารปรับปรุงดินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้ ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็ก ถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชน ตำบลบางเขา เป็นอีกพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งมีจำนวนขยะอินทรีย์เป็นจำนวนมากในพื้นที่ และเพื่อเป็นการสนองนโยบายและเป็นการแก้ไขปัญหาขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา และแกนนำชุมชน ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมใจ จากทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนในการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งการลดปริมาณขยะเปียกในพื้นที่ได้เป็นจำนวนมาก เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้องต่อไป ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์จัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อสุขภาพที่ดีในตำบลบางเขา ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเปียกครัวเรือนอย่างถูกต้อง โดยสามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นทาง เป็นการลดปริมาณขยะเปียกในครัวเรือน และช่วยแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนตำบลบางเขา ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ลดปริมาณขยะเปียก และนำมาคัดแยกเพื่อการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน

 

60.00 100.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะและลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

 

60.00 80.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน

 

60.00 80.00
4 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และพาหะนำโรคต่าง ๆ

 

60.00 80.00
5 เพื่อดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

 

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ลดปริมาณขยะเปียก และนำมาคัดแยกเพื่อการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะและลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และพาหะนำโรคต่าง ๆ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ และการจัดการขยะเปียกครัวเรือน โดยการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนและการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ 20,896.00 -
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะ และติดตามการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ในครัวเรือน 2,880.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ครบทุกหลังคาเรือน
  2. ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะด้วยหลักการ 3Rs การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และสามารถนำไปปฏิบัติในครัวเรือนต่อไป
  3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในชุมชน ให้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม
  4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีการดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนตนเองและ แลกเปลี่ยนกับประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลบางเขา
  5. สร้างรูปแบบการจัดการขยะโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
  6. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1 คน สามารถขยายผลให้เพื่อนบ้าน หรือญาติพี่น้อง ในการทำถังขยะเปียกต่อ 1 ครัวเรือนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2568 16:19 น.