กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา
รหัสโครงการ 68-L5275-03-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,928.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริญญา จินดารัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

"พฤติกรรมการติดหน้าจอ" ถือเป็นภัยร้ายอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับกลุ่มคนทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากมีการใช้เวลากับหน้าจอนานๆ ย่อมส่งผลกระทบทั้ง ด้านการสื่อสาร ทำให้พูดช้า พูดไม่ชัด ขาดความคิดสร้างสรรค์ และการจ้องมองจอภาพเป็นเวลานาน ๆ จะย่อมส่งผลเสียกับดวงตา ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผู้ปกครองจำนวนมากปล่อยให้เด็กเล็กเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยงานวิจัยของ Anglia Ruskin University ระบุว่าในช่วง COVID-19 เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เวลาหน้าจอ เพิ่มสูงขึ้นอีกโดยเฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง 20 นาที กระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยช่วงวัยที่มีการใช้งานหน้าจอเพิ่มสูงขึ้นต่อวันมากที่สุด คือ เด็กอายุ ระหว่าง 6 - 10ปี เพิ่มขึ้น 83 นาทีต่อวัน รองลงมาจากเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการติดจอเพิ่มขึ้น 35 นาที "จักรยานขาไถ หรือ จักรยานทรงตัว" จึงเป็น อีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งเป็นจักรยานที่ไม่มีบันได การเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ทำโดยการใช้ขาไถดันรถไปข้างหน้า เด็กเล็กตั้งแต่ 1 ขวบครึ่งไปจนถึง 5 ขวบ (วัยฟันน้ำนม)สามารถเล่นได้ ประโยชน์ของการเล่น "จักรยานขาด"มี ทั้งการเรียนรู้เสริมทักษะการออกกำลังกาย ฝึกการทรงตัว
ลดพฤติกรรมเสี่ยง การติดจอแก่เด็กเล็ก ซึ่งในปัจจุบันพัฒนาไปสู่การแข่งขัน เป็นเวทีที่เปิดกว้างให้เด็กได้แสดงความสามารถทางด้านกีฬาอย่างเต็มที่ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ทุกด้าน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กมัดใหญ่ ให้แข็งแรง เป็นการ ฝึกการทรงตัวแก่เด็ก รวมทั้ง ช่วยฝึกสายตา การแยกแยะสี การประเมินระยะทาง การใช้มือและแขนเพื่อบังคับทิศทาง และการใช้กล้ามเนื้อขาที่ออกแรงเดิน ปีการศึกษา 2568 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา มีเด็กเล็กอายุ ช่วงอายุ 2 ถึง 3 ปี จำนวน 38 คน ซึ่ง จัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น สนามเด็กเล่น สนามหญ้า ให้เด็กได้วิ่ง ปินป่าย เตะฟุตบอล โยนบอลลงตะกร้า เล่นเครื่องเล่นสนาม ฯลฯ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการทรงตัวและการพัฒนาของกล้ามเนื้อตามวัย จึงจัดทำ "โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย
  1. เด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรม ร้อยละ 100
0.00
2 2. เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่
  1. ร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็กมีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่เหมาะสมกับวัยตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? ๑. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การใช้จักรยาน ขาไถ Balance Bike 0 2,382.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 2. กิจกรรม Balance Bike training 0 17,546.00 -
รวม 0 19,928.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ออกกำลังกายและมีร่างกายแข็งแรง มีกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่เหมาะสมกับวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2568 09:34 น.