โครงการ อย.น้อยใส่ใจสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการ อย.น้อยใส่ใจสุขภาพ |
รหัสโครงการ | 68-L5253-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียน ตชด.บ้านสำนักเอาะ |
วันที่อนุมัติ | 11 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 20,395.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | พันตำรวจตรีโกวิท จันทร์เขียว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 103 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย พฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่งและเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีต ประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทร อีทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า รวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียน อายุระหว่าง 12 - 18 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ หากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย หากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ลดน้อยลงได้พร้อมทั้งให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ นักเรียนแกนนำ อย.น้อย โรงเรียนตชด.บ้านสำนักเอาะ จึงเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อย.น้อย อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนด้วย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โครงการ อย.น้อย ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และเกิดทักษะในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมการวางแผนในการปฏิบัติงาน กล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่ นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่าย ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป อย่างมั่นใจพร้อมทั้งปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกอาหารในการบริโภคประจำวันได้ นักเรียนสามารถเลือกอาหารในการบริโภคประจำวันได้ |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 103 | 20,395.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 103 | 20,395.00 | - |
- นักเรียนทราบถึงบทบาทหน้าที่ของ อย.น้อย
- นักเรียนทราบถึงความสำคัญของการเลือกอาหาร
- นักเรียนสามารถเลือกอาหารในการบริโภคประจำวันได้
- นักเรียนสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยในโรงเรียน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2568 10:57 น.