กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การพัฒนาการจัดการโรคเบาหวานสู่เบาหวานระยะสงบ หมู่ที่ 12 ตำบลคลองเฉลิม ปีงบประมาณ ๒๕๖๘
รหัสโครงการ 2568-L3306-02-027
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 12
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอ่าซาน หมัดอาดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
    จากข้อมูลกองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases) ที่เป็นภาวะโรคสำคัญของระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2588 จะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 783 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรค 3.2 ล้านคนต่อปีสำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเบาหวานปี 2558 - 2562 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 (ปี 2563) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประซากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2563 และอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยสะสม 3.4 ล้านคน อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 70 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามแนวทางมาตรฐานจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง อันนำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล โดยให้ผู้ป่วยทำ Self-monitoring และบันทึกข้อมูล แพทย์ พยาบาล นักโภชนาการวิเคราะห์ข้อมูล และนำมา Counseling วางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine พูดคุยสอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการรอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความรุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้ พบว่ายอดจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี ๒๕๖๗ จำนวนผู้ป่วยเบาหวานของหมู่ที่ 12 ตำบลคลองเฉลิม ทั้งหมด 48 คน และพบผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ดังนั้นทางชมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 12 ตำบลคลองเฉลิม  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาการจัดการโรคเบาหวานสู่เบาหวานระยะสงบขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1 เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าสู่ระยะสงบได้

อัตราผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าสู่ระยะสงบได้ ≥ ร้อยละ10

2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดยาหรือหยุดยาเบาหวานได้ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

2.ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดยาหรือหยุดยาเบาหวานได้ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

3 ข้อที่ ๓ เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อน

3.เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้แก่ อสม.ตามพื้นที่รับผิดชอบและแจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการโดยผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์จากโรงพยาบาลกงหรา 0 0.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมอสม.ชวนนับคาร์บพร้อมกับผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในการดูแลติดตามผู้ป่วยเบาหวาน 0 0.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ต.ค. 68 นัดติดตาม HbA1C ทุก 3 เดือน 0 0.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมให้ความรู้และเยี่ยมติดตามเสริมพลังแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการฯ 0 0.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ติดตามผ่านระบบ Application line โดยให้ผู้ป่วยส่งข้อมูล ตามแนวทางดังนี้ - สัปดาห์ที่ 1 DTX สัปดาห์ละ 3 วันๆละ 2 ครั้ง - สัปดาห์ที่ 2-4 DTX สัปดาห์ละ 2 ครั้ง - เดือนที่ 2-3 DTX สัปดาห์ละ 1 - เดือนที่ 4-6 DTX เดือนละครั้งก่อนอาหารเช้า 0 10,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลรายงานผลโครงการ 0 0.00 -
รวม 0 10,000.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ
  ๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
  ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3.จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากร และเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ เทคโนโลยี และสื่อการสอน
  4.ประชาสัมพันธ์/เชิญชวน กลุ่มผู้เป็นเบาหวานที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ


  5.จัดตั้งคลินิกและคณะกรรมการ DM Remission 1. กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้เป็นเบาหวานเข้าสู่ DM Remission service 2. กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ในคลินิกเพื่อใช้สำหรับ Self-monitoring
3. เก็บรวบรวมข้อมูลผู้เป็นเบาหวานก่อนเข้าโครงการ รายละเอียดดังนี้ 3.1. ประเมินภาวะสุขภาพด้วยวิธีการตรวจเลือด
3.2. ลงทะเบียนและประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 4. วิเคราะห์ข้อมูลผู้เป็นเบาหวานแต่ละรายที่เข้าร่วมโครงการ 4.1. ออกแบบการสื่อสารที่ถูกต้องเข้าใจ 4.2. ใช้ค่า BMI และประวัติการรับประทานยาของผู้เป็นเบาหวานแต่ละรายเพื่อกำหนดTreatment goal

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เป็นเบาหวานระยะที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าสู่ระยะสงบได้ 2.ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดยาหรือหยุดยาเบาหวานได้ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2568 14:04 น.