โครงการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน ในปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน ในปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4119-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ |
วันที่อนุมัติ | 29 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,661.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะรอซี เด็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 61 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่สำคัญ และพบบ่อยของประชากรไทยในปัจจุบัน คือ ฟันผุ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป การบีบรัดทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง (ซี่ 6) มีอัตราการผุและสูญเสียมากที่สุดของประชากรไทยเมื่อเทียบกับซี่อื่น เนื่องจากเป็นฟันแท้ซี่แรกที่ขึ้นในช่องปากเมื่ออายุ 5-7 ปีซึ่งเป็นวัยที่เด็กยังไม่สามารถดูแลรับผิดชอบตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นฟันน้ำนมทำให้ละเลยการดูแล ประกอบกับเด็กวัยนี้ชอบขนมหวาน นอกจากนี้ฟันที่ยังขึ้นไม่ถึงระนาบของการบดเคี้ยว (occlusal plane) จะไม่ถูกขัดให้สะอาดจากการบดเคี้ยวตามธรรมชาติ (self cleansing) ขณะที่ตัวฟันเองยังมีการสะสมแร่ธาตุ (mineralization) ไม่สมบูรณ์ทำให้ไม่ทนทานต่อกรดที่เกิดในช่องปากที่ไม่สะอาด ฟันซี่นี้จึงเริ่มผุที่ด้านบดเคี้ยวจนลุกลามและถูกถอนในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและการสบฟันอันเป็นปัญหาของเด็กทั่วโลก ตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพ เพื่อติดตามการเกิดโรคในช่องปาก ให้สามารถตรวจพบโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถป้องกันหรือควบคุมได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคจะลุกลามจนยากที่จะแก้ไข โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ตรวจสุขภาพในช่องปากเด็กนักเรียน ปีละ 2 ครั้ง
ทั้งนี้การส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในนักเรียนสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้ทันตสุขศึกษา การสอนแปรงฟัน การเคลือบหลุมร่องฟัน และการใช้ฟลูออไรด์ การอุดฟัน การถอนฟันเป็นการบำบัดความรุนแรงและการลุกลามของโรคฟันผุ นอกจากนี้การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวันจะช่วยทำให้นักเรียนเกิดการดูแลสุขภาพช่องปากและได้รับฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอ โดยมาตรการที่เหมาะสมคือ การสร้างสุขนิสัยในการดูสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร จึงจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วัยประถมศึกษาซึ่งฟันแท้เริ่มทยอยขึ้นในช่องปาก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน” ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคนมีสุขภาพช่องปากที่ดี สามารถป้องกันและควบคุมโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาโรคในช่องปากของเด็กนักเรียน
|
||
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความรู้และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง
|
วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
1. จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ
2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูอนามัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
- แบบบันทึกสุขภาพช่องปากและฟัน สำหรับนักเรียน
- เครื่องมือ - อุปกรณ์ และวัสดุทันตกรรม สำหรับให้บริการทันตกรรม
ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ให้บริการทันตกรรม
- ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนอนุบาล 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6
- ให้บริการทันตกรรมป้องกัน เคลือบฟลูออไรด์วาร์นิช
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน
- สอนทันตสุขศึกษาและฝึกปฏิบัตินักเรียน ให้แปรงฟันถูกวิธีด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
ขั้นสรุปผลและรายงาน
1. รวบรวมผลการปฏิบัติงานหน่วยส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในนักเรียนประถมศึกษา ตามระบบรายงาน ดังนี้
- ผลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษา
- จำนวนนักเรียนประถมศึกษาที่ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์
- จำนวนนักเรียนประถมศึกษาที่มีการฝึกแปรงฟัน และได้รับทันตสุขศึกษา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2568 15:29 น.