โครงการสุขภาพเด็กดีเริ่มที่วัคซีน ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพเด็กดีเริ่มที่วัคซีน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4119-1-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ |
วันที่อนุมัติ | 29 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,080.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวยัสมี แวดอเล๊าะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลาในบางพื้นที่ เริ่มมีการระบาดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 เป็นต้นมา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กที่ได้รับ วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกมาตรการการป้องกัน ควบคุมโรคไอกรนในพื้นที่ระบาด อาทิ การสอบสวนโรคการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการแพร่เชื้อ การเร่งรัดการฉีด วัคซีนที่มีส่วนประกอบของไอกรนในเด็กเล็กตามระบบปกติและรณรงค์ให้วัคซีนเก็บตก การฉีดวัคซีนไอกรนชนิดไร้ เซลล์ (aP) ในหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งสื่อสารให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย แต่ยังคงพบรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2567 พบผู้ป่วยยืนยัน 288 ราย และพบผู้เสียชีวิต 5 รายซึ่งเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี) รวมถึงผลความ ครอบคลุมการฉีดวัคซีนยังคงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ได้มีการประชุมหารือการขับเคลื่อนการเร่งรัดงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไอกรน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างกรมควบคุมโรค ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย มีมติเห็นชอบ มาตรการเพิ่มเติมในการตอบโต้สถานการณ์โรคไอกรนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ 1) มาตรการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคไอกรนในเด็กกลุ่มเป้าหมายแบบปูพรมในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ในพื้นที่ระบาด (Mop up) 2) มาตรการเร่งรัด การฉีดวัคซีนไอกรนในหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ระบาด และ 3) มาตรการป้องกันการแพร่เชื้อไอกรนในกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะในพื้นที่ระบาด กรมควบคุมโรค จึงได้จัดทำ มาตรการการป้องกันควบคุมโรคไอกรนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจากสถานการณ์ดังกล่าว ในพื้นที่ บ้านศรีท่าน้ำพบผู้ป่วยยืนยันไอกรน ปี งบประมาณ 2566 แล้ว จำนวน 1 ราย และสงสัยเข้าข่ายอีก 5 ราย ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการ จึงขอดำเนินโครงการดังนี้โครงการสุขภาพเด็กดีเริ่มที่อายุ 0-5ปีด้วยวัคซีนปี 2567โดยจะมีการจัดอบรมขึ้นใน รพ.สต.บ้านศรีท่าน้ำ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานรับวัคซีนครบชุดตามวัย
|
||
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคในเด็กและพัฒนาการสมวัย
|
วิธีดำเนินการ
1 จัดประชุมคณะทำงาน และแกนนำ
2 เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
3 ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย
4 ดำเนินงานตามโครงการ
-จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรควัคซีนป้องกันโรคในกลุ่มผู้ปกครองเด็กวัย 0-5 ปี
-ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน
1.ร้อยละ 90 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ที่ถูกต้องเเละเกิดความตระหนักในเรื่องวัคซีน 2.เกิดกิจกรรมรณรงค์การรับวัคซีนในพื้นที่ โดยมีอสม. แกนนำ และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม 3.สามารถป้องกันและควบคุมโรค จากโรคที่สามารถป้องกันด้วยการรับวัคซีน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2568 15:48 น.