กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่ ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L2487-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 21,335.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาตีเม๊าะ อูมูดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ช่วยให้เด็กได้มีอาหารการกินที่ดีมีคุณค่าทางอาหาร และได้ปริมาณครบถ้วน เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การส่วนบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (5) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลต้องจัดการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือการสนับสนุนการดูแลเด็กและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อเสมอภาคทางการศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 2.2.4 เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคล บันทึกผลภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ได้กำหนดรายการพิจารณาที่ 4 มีการให้คำแนะนำ/ความรู้ด้านโภชนาการที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการของเด็กแก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาใหม่ ประจำปี 2568 ขึ้น และการเจริญเติบโต โดยมีแนวคิดให้เด็กอายุ 2 - 3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดี และมีคุณภาพในการดำรงชีวิตประจำวัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการของเด็กแก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก
  1. พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ด้านโภชนาการที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
1.00 1.00
2 2. เพื่อฝึกทักษะการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการของเด็กปฐมวัย ให้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก
  1. พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีทักษะด้านโภชนาการที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,335.00 0 0.00
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ 0 13,485.00 -
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 จัดการฝึกสาธิต ทักษะการปรุงอาหาร 0 7,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 เด็กได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม เพียงพอ และมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
8.2 ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
8.3 ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความเข้าใจภาวะโภชนาการอาหารในเด็กมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2568 10:28 น.