โครงการควบคุมและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ ในเขตหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ ในเขตหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
รหัสโครงการ | 68-L1460-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ |
วันที่อนุมัติ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 กรกฎาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 5,480.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.338,99.515place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
หญิงวัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทยมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 หรือ ประมาณ 1 ใน 4 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ จากการศึกษาพบว่า ภาวะ โลหิตจางมีผลต่อสุขภาพและมีผลต่อการทำงาน เช่น อาการเวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ซึ่งมีทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อน กำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ประเทศไทยพบ อุบัติการณ์ภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วประเทศ ร้อยละ 40.7 โลหิตจางเป็นภาวะ ที่มักจะไม่ปรากฏอาการให้เห็นเด่นชัด ผู้ป่วยจึงอาจมีภาวะโลหิตจางโดยไม่ปรากฏอาการอัตราการเกิด ภาวะโลหิตจาง ในสตรี
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) (ต่อ)
"สาวไทยแก้มแดง" คือ คำเรียกสั้นๆ ของ "โครงการส่งเสริมสาวไทยแก้มแดงมีลูกเพื่อชาติ ด้วยวิตามิน แสนวิเศษ" เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วย การส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่าง มีคุณภาพ
ประกอบกับในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพได้ตรวจพบสตรีวัยเจริญพันธ์อายุ 15 -49 ปี มีภาวะซีด ถึงร้อยละ 16.2 ซึ่งเกินค่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตในหญิงวัยเจริญพันธ์ และยังส่งผลถึงภาวะซีดในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งจากรายงานผลการดำเนินการ พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด และค่าความเข้มข้นเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ถึงร้อยละ 22.65 ซึ่งเป็นผลทำให้ทารกแรกเกิดมีภาวะซีดตามมาด้วย
ดังนั้น การแก้ปัญหาเป็นการควบคุมและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ จะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีต่อบุตรให้อนาคต ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญจึงทำโครงการควบคุม และป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ ในหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการตรวจจัดกรองภาวะซีด ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย ร้อยละ 70 |
||
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลร้อยละ 100 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมการเจาะเลือด(19 มิ.ย. 2568-19 มิ.ย. 2568) | 5,480.00 | |||
รวม | 5,480.00 |
1 กิจกรรมการเจาะเลือด | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 5,480.00 | 0 | 0.00 | |
2 ก.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมการเจาะเลือด | 60 | 5,480.00 | - | ||
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2568 11:14 น.