กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวย
รหัสโครงการ 68-L3314-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมดิน
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 16,365.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมสุข อ่อนประชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.525,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดีการป้องกัน โรคฟันผุสุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพทุกคนโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้ฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ จึงควรได้รับการเลี้ยงดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และมีพัฒนาการตามวัย โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่พบมาก อีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้ และฟันผุในระยะแรกสามารถลุกลามเป็นรูผุได้ในเวลา 6-12 เดือน เด็กที่เริ่มมีฟันผุในอายุน้อยมีการลุกลามได้รวดเร็วและเริ่มผุในช่วงปีแรก อัตราการผุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปลงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่นๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว อสม.ชุมชน รวมทั้งครอบครัว(ผู้ปกครอง) ต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีพัฒนาการตามวัย เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุในวัยเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมดิน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการการส่งเสริมดูแลสุขภาพฟันปละการป้องกันโรคในช่องปากก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรงจึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันสวย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมดิน เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ในการดูแลช่องปากและฟันของเด็กให้ฟันดี ห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ครู ผู้ดูแลเด็กมีความรู้เรื่องทันตอนามัยในเด็กปฐมวัย

ครู ผู้ดูแลเด็กมีความรู้เรื่องทันตอนามัยในเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80

2 เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็ก

เด็กเล็กสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปาก ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ดีึ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน ร้อยละ 80

4 เพื่อสร้างความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพของเด็ก

ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีมีความรู้และทักษะในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
  2. กิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารเที่ยง
  3. กิจกรรมครู ผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินสุขภาพช่องปากเบื้อต้นและติดตามสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก
  2. เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2568 14:29 น.