โครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองตัน ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองตัน ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2487-3-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองตัน |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 27,160.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนิสาเร๊าะ นิเฮาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองตัน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อย โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก ผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นต้น โดยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็ก การดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการเกิดและแพร่กระจายของโรคติดต่อดังกล่าว โดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัยจากโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก และสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กประสบความสำเร็จได้ เกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กอย่างเข้มแข็ง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและสุขภาพที่ดี
|
1.00 | 1.00 |
2 | 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน การดูแลรักษา และการป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก
|
1.00 | 1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | 1. กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ | 0 | 19,025.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการ | 0 | 8,135.00 | - | ||
รวม | 0 | 27,160.00 | 0 | 0.00 |
- ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อให้ลดลงส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและสุขภาพที่ดี
- ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองตันได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน
การดูแลรักษา และการป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2568 15:12 น.