โครงการป้องกันเเละควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงตำบลธารโต ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันเเละควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงตำบลธารโต ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4119-1-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลธารโต |
วันที่อนุมัติ | 29 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 32,780.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวลลิตา ดารีซอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวและไวรัสตามลำดับ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้จากการถูกยุงที่มีเชื้อเป็นพาหะ โดยไข้มาลาเรียเกิดจากเชื้อ Plasmodium และไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ทั้งสองโรคสามารถสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ตำบลธารโต จากสถิติ 5 ปี ย้อนหลัง (ปี2562-2566 ) พบอัตราป่วย เท่ากับ 662.23, 188.49 , 15.73 , 157.34 และ 236.01 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต การควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ตำบลธารโตมีแนวโน้มที่ดีในช่วงปี 2564 ซึ่งอาจเกิดจากการเข้มงวดในการควบคุมพาหะ แต่การเพิ่มขึ้นของอัตราป่วยในปี 2565 และ 2566 แสดงถึงความท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องการการวางแผนและมาตรการที่เหมาะสมมากขึ้นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากสถิติ 5 ปี ย้อนหลัง (ปี2562-2566 ) พบอัตราป่วยเท่ากับ 472.29 ,110.2 , 15.74 ,0 ,582.49 ตามลำดับ ไม่มีรายงานผุ้ป่วยเสียชีวิต การควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลธารโตในช่วงปี 2564-2565 ดูเหมือนจะได้ผลดีจนสามารถลดอัตราป่วยลงไปจนถึง 0 รายในปี 2565 แต่ในปี 2566 กลับพบการระบาดที่มีอัตราป่วยสูงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดอีกครั้ง และควรมีการวางแผนและเฝ้าระวังที่ดีเพื่อป้องกันการระบาดในอนาคต
โครงการ "ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงตำบลธารโต ปี2568" จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน ทั้งระดับท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน เพื่อให้เกิดการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและป้องกันโรคที่เกิดจากแมลงอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ ในพื้นที่ตำบลธารโต โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
|
||
2 | 1.1 เพื่อการป้องกันและคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลธารโต
|
||
3 | 1.2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลธารโต
|
||
4 | 1.3 เพื่อรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่
|
||
5 | 1.4 เพื่อสร้างเครือข่ายนักเรียนป้องกันโรคมาลาเรีย และไข้เลือดออกในโรงเรียนนำร่อง
|
- วิธีดำเนินการ
1) ประชุมวิเคราะห์สภาพปัญหาและทบทวนแนวทางการดำเนินงาน และวางแผนการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานร่วมกับเครือข่าย
2) กำหนดพื้นที่ดำเนินการโดยแบ่งเป็นพื้นที่ A1 และ A2 ตามลักษณะการระบาดของโรค
3) จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการต่อผู้บังคับบัญชา
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมตามมาตรการการส่งเสริมป้องกันโรค 1) กิจกรรมรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อตำบลธารโต 1 ครั้ง
2) กิจกรรมสร้างเครือข่ายนักเรียนป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงนำร่องตำบลธารโต 3 โรงเรียน กิจกรรมตามมาตรการการป้องกันและ ควบคุมโรค 1) การเจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ในบ้านและรอบๆบ้านผู้ป่วยในระยะ 50 เมตร 3) การพ่นสารเคมีตกค้างก่อนการระบาดพื้นที่ A1 และ A2
4) การพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยและพื้นที่ใกล้เคียงในระยะ 1 กม.
การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในตำบลธารโต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เกิดกระแสการรณรงค์การควบคุมโรคติดต่อ ประชาชนในชุมชนและเครือข่ายนักเรียน มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อที่ดี สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคได้ ทำให้สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2568 15:14 น.