โครงการส่งเสริมสุขภาพสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ หมู่ที่ 2 ตำบลช้างให้ตก |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุภาพ ยอดไกร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นกอรปกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทย เปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน ครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและ ความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวและดำเนินชีวิตเพียงลำพัง สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัว ออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้อง เผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงานมีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต เพราะตายจากการสูญเสียบุตรเพราะ แยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพ หรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสีย การเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุไม่ได้รับ การดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตราย ต่อชีวิตได้ จำนวนผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยามีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 377 คน คิดเป็นร้อยละ 14.44 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในไม่ช้านี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ภายใต้การดูแลอย่างเป็นองค์รวม กาย จิต สังคม ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | โครงการส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ | 0 | 16.00 | - | ||
รวม | 0 | 16.00 | 0 | 0.00 |
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน X 80 คน X 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน X 35 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200.-บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน X 600 บาท X จำนวน 6 ชม. เป็นเงิน 3,600.-บาท -ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม 60 ชุดละๆ 50 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 เมตร X 2.4 เมตร เป็นเงิน 550.-บาท รวมเป็นเงิน 16,150.-บาท
1.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มีภาวะซึมเศร้า สามารถจัดการกับความเครียดได้ 2.ผู้อายุมีความรู้ด้านสุขภาพได้รับการพัฒนาทักษะทางกายและทางใจ 3.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 00:00 น.