โครงการสูงวัย ไร้โรค 2568 โดยชมรมผู้สูงอายุตำบลีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัย ไร้โรค 2568 โดยชมรมผู้สูงอายุตำบลีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา |
รหัสโครงการ | 68-L4118-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 61,670.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.153,101.116place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความ เข้าใจใน เรื่องที่มีความสำคัญ ต่อการดำเนินชีวิต โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุ บน พื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย และจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลัง ของผู้สูงอายุ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย อดชีวิต เรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย มีความสุขสนุกสนาน เน้น ความรู้ที่จะช่วยพัฒนา ทักษะต่างๆ ให้ผู้สูงอายุเข้าใจและเท่าทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ “สูงวัย อย่างมีสุข ยุค Thailand ๔.๐ ซึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองให้ดำเนินชีวิตในบั้นปลายอย่างมี ความสุข รวมถึงเป็นการพัฒนา ศักยภาพของบุคคลอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็น ประโยชน์ไม่ใช่เรื่องของอนาคตอีกไกลกันต่อไปแล้วสำหรับ “สังคมสูงวัย “(Aging Society)เพราะโครงสร้าง ประชากรของไทยจะ เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยข้อมูลจาก "สภาพัฒน์ “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติสังคมไทยจะมีประชากร ๖๐ ปีขึ้นไปถึงร้อยละ ๒๐ ของประชากรไทยทั้งหมด สวนทางกับจำนวน เด็กเกิดใหม่ที่น้อยลงอย่างต่อเนื่อง
ชมรมผู้สูงอายุตำบลคีรีเขต มีความตระหนัก และเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ ในชุมชน โดยมีการให้บริการด้านสุขภาพตามความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยการบูรณาการ การจัดการ การเรียนการสอนในกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ผลจากการจัด โครงการ และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญใน การฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุจากภาระให้ เป็นพลังทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญาณ ให้ ผู้สูงอายุมีความรู้มีทักษะทั้งด้านวิชาการ และด้าน ต่างๆ รวมถึงการใช้สื่อการเรียนรู้รู้สมัยใหม่ เพื่อกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เน้นกระบวนการมี ส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งด้าน ผู้สูงอายุ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน พัฒนาระบบการดูแล ผู้สูงอายุและการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุรวมถึงการบูรณาการ สู่การเรียนการสอน อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ให้มี สุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
ขั้นตอนดำเนินงาน จัดกิจกรรมการบรรยาย อบรมให้ความรู้ในหัวข้อกิจกรรมต่างๆรวมถึงการสาธิต ฝึกการ ปฏิบัติการแสดงออก การมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงการถอดบทเรียน ซึ่งมี ๑๙ กิจกรรม ดังนี้ - กิจกรรมที่ ๑ ส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพ - กิจกรรมที่ ๒ นันทนาการ/ดนตรีบำบัด(คาราโอเกะ) -กิจกรรมที่ ๓ การเกษตรสมัยใหม่แบบผสมผสาน ยึดวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง - กิจกรรมที่ ๔ "พี่มีแต่ให้"จิตอาสาเพื่อชีวิตและสังคม - กิจกรรมที่ ๕ การออกกำลังกาย สูงวัยใจเกิน ๑๐๐ - กิจกรรมที่ ๖ ส่งเสริมและอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น และขนมไทย - กิจกรรมที่ ๗ การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น “รุ่นสู่รุ่น" - กิจกรรมที่ ๘ ส่งเสริมงานอดิเรก "แฮนด์เมด"ใครๆก็ชอบ - กิจกรรมที่ ๙ เรียนรู้การถ่ายภาพ รูปสวยด้วยมือเรา - กิจกรรมที่ ๑๐ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ผู้สูงอายุควรรู้ รวมถึงกฎหมาย/การทำ พินัยกรรม - กิจกรรมที่ ๑๑ ธนาคารความดี - กิจกรรมที่ ๑๒ การเลือกรักษาแพทย์ทางเลือก - กิจกรรมที่ ๑๓ การเต้นลีลาศ - กิจกรรมที่ ๑๔ การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ - กิจกรรมที่ ๑๕ การส่งเสริมศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองจังหวัดกระบี่ “รองแข็ง” และ “ลีลาส บาสโลบ” - กิจกรรมที่ ๑๖ ส่งเสริมสมุนไพรไทย/การแปรรูป - กิจกรรมที่ ๑๗ กฎหมายควรรู้ วินัยการจราจรและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - กิจกรรมที่ ๑๘ การเข้าร่วมทางสังคม - กิจกรรมที่ ๑๙ กองทุนสวัสดิการโรงเรียนผู้สูงอายุ
- ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ สามารถพัฒนาตนเองได้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และ จิตวิญญาณร้อยละ ๑๐๐
- เกิดการสร้างกลุ่มและมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม รวมทั้งเป็นแรงผลักดัน ให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครต่างๆในชุมชน ร้อยละ ๑๐๐
- เกิดภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุตำบลคีรีเขตเข้มแข็งและยั่งยืน
- ชมรมผู้สูงอายุตำบลคีรีเขต สามารถเป็นหน่วยงานต้นแบบให้หน่วยงาน ใกล้เคียง หรือหน่วยงาน อื่นๆมาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 11:30 น.