กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวังเจริญเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติดในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L1485-2-35
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 12 กันยายน 2568
งบประมาณ 11,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัตติกาล จันทร์ฝาก อสม. ม.7 บ้านวังเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันยาเสพติดได้แพร่ขยายเข้าสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงและผลกระทบมากมาย โดยพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชจากการเสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการรักษาในแต่ละปี ราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ก่อความรุนแรงด้วย 4 ปัญหาใหญ่ จาก “ยาเสพติดในชุมชน” ได้แก่ 1) ปัญหาด้านสาธารณสุข ร่างกายของผู้ที่เสพยาเสพติดทรุดโทรม อ่อนแอ เสียสุขภาพ มีผลต่อระบบสมองและประสาท 2) ปัญหาด้านสังคม ทำให้สังคมเสื่อมโทรม เนื่องจากผู้เสพจำนวนมาก ไม่ยอมทำงาน ไม่เรียนหนังสือ และอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้เสพยากับกลุ่มคนปกติ 3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐในการใช้จ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งยังทำให้ขาดแรงงานที่มีประสิทธิภาพ 4.) ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากยาเสพติดทำให้ขาดสติ เกิดปัญหาลักทรัพย์ หรืออาชญากรรมต่าง ๆ เช่น จี้จับตัวเนื่องมาจากเกิดการหลอน และการประทุษร้ายผู้อื่น ปัญหายาเสพติดในชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนมักมีสาเหตุพื้นฐานมาจาก 1) สถานภาพทางครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง 2) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่ชักจูงจนเกิดความอยากรู้และอยากลอง 3) ปัญหาพฤติกรรมลอกเลียนแบบจากกลุ่มเพื่อนหรือผู้ปกครอง 4) ความเสี่ยงที่เกิดจากสื่อที่มีการแสดงตัวอย่างจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่เยาวชน เช่น ความเท่ ความรวย ที่ได้จากการเสพยาและการจำหน่ายยาเสพติด 5) สภาพแวดล้อมในชุมชนและระดับการศึกษาที่ทำให้เยาวชนขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาเสพติด ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศไทยทำได้จำกัด เนื่องจากไม่สามารถจัดการแหล่งผลิตยาเสพติดภายนอกประเทศได้ อาทิ กลุ่มว้า มูเซอ ไทยใหญ่ โกกัง และมีความพยายามลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัญหาการแพร่ระบาดในหมู่บ้านหรือชุมชนก็ไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ที่สำคัญปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 24 ปี มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ปัญหายาเสพติด” กำลังเป็นปัญหาที่คุกคามสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภัยต่อสุขภาพกายและจิตต่อกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน ดังนั้น การแก้ปัญหายาบ้าในกลุ่มเยาวชนจึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในการแก้ไข เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดและข่าวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในบ้านวังเจริญยังคงมีให้เห็นและติดตามกันอย่างต่อเนื่อง ประชาชน หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ มีประชากร ทั้งหมด 266 คน เป็นประชากรอายุ 15-45 ปี ทั้งหมด 100 คน ซึ่งปัญหายาเสพติดมีให้เห็นและได้ฟังเสมอ  โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง แม้ว่าจะมีมาตรการและนโยบายต่าง ๆ เพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมถึงการรณรงค์เรื่องยาเสพติดจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและประชาชนในชุมชน ประชาชน หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนได้มีภูมิคุ้มกัน และให้ความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด ด้วยความเข้มแข็งของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษยาเสพติด

 

2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและภูมิคุ้มกันในเรื่องยาเสพติด ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติในชุมชนลดน้อยลง

 

3 3. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในชุมชนในการป้องกันและร่วมกันต้านภัยยาเสพติดในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจง แกนนำ, อสม ตำบลบ้านลำปลอกเพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
        2.1 จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด การสร้างความเข้มแข็งในชุมชน     2.2 แบ่งกลุ่มระดมความคิด และการแก้ปัญหายาเสพติด
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงโทษของยาเสพติดที่มีต่อตนเองและผู้อื่น
    1. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและภูมิคุ้มกันในเรื่องยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนลดลง
    2. เกิดภาคีเครือข่ายในชุมชน ที่ให้ความร่วมมือในการป้องกันและต้านภัยยาเสพติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 13:44 น.