กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L1485-2-36
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 12 กันยายน 2568
งบประมาณ 11,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส กัญญาวีร์ คงดำ อสม. ม.10 บ้านทุ่งข่า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติ ของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก38ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ68ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2555 เป็น 41 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2559 โดยกลุ่มโรค NCDs ที่พบการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (17.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44) รองลงมาคือ โรคมะเร็ง (9.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (3.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9) และโรคเบาหวาน (1.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4) ซึ่งในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปีหรือเรียกว่า “การเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร”มากถึง 15 ล้านคน โดยร้อยละ 85 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น กลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติ ของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูล ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2561 พบอัตราการเสียชีวิต อย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปีพ.ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicabie diseases) คือกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่มีสาเหตุมาจาการติดเชื้อหรือเกิดจากเชื้อโรค หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิถีชีวิต หรือวิธีการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด ทำให้มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อยๆมีอาการ และรุนแรงขึ้นที่ละน้อย หากไม่ได้มีการรักษาควบคุมและจะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุความพิการ การสูญเสียคุณภาพชีวิต และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในหมู่บ้านที่ 10 บ้านทุ่งข่า มีประชาชนทั้งหมด จำนวน 473 คน มีประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปจำนวน 272 คน ซึ่งในประชากรกลุ่มนี้พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาแล้ว 35 คน ทางหมู่บ้านที่ 10 บ้านทุ่งข่า จึงเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงร่วมกันจัดทำโครงการ สร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ห่างจากการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โดยมุ่งเน้นในเรื่องสุขภาพ เสริมพลังการดูแลตนเองของประชาชน ผู้ป่วย และผู้ดูแล พัฒนาคุณภาพการดูแลตนเองของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ถูกต้อง

 

2 2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

 

3 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมการดูแลที่ถูกต้อง ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมการดูแลที่ถูกต้อง ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจง ประชาชนในพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
        2.1 อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่     2.3 สร้างเสริมแกนนำและอบรบเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ถูกต้อง
  2. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนลดลง
  3. กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมการดูแลที่ถูกต้อง ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 14:23 น.