โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน |
รหัสโครงการ | 6830230206 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละไกรทอง |
วันที่อนุมัติ | 16 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 18,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวชนาพร กาญนา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.627,101.64place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว เพราะการที่ต้องทนอยู่กับความ เจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทําให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย แต่ในเมื่อเกิดโรค ขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรทําคือ ดูแลสุขภาพตนเอง และหาทางอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างปลอดภัยและมีความสุขที่สุดโรค เรื้อรังนั้นมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ และ อาจทําให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด ได้ ทําได้เพียงควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ โดยตัวอย่างของโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปของพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้าน ไม้แก่นและหมู่ที่ ๒ บ้านปาเส ในปี ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ๗๔คนคิด เป็น ร้อยละ ๔๔.๖๘ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ๘๑ คนคิดเป็น ร้อยละ ๓๕.๖๘ และกลุ่มเสี่ยงสูงด้วยโรคความ ดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อยืนยัน 4 คน ยืนยันเป็นผู้ป่วยจํานวน ๒ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๓๙๒.๑๕ ต่อ แสนประชากร กลุ่มเสี่ยงสูงด้วยโรคเบาหวานได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อยืนยัน ๑ คน ยืนยันเป็นผู้ป่วยจํานวน ๑ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑๙๖.๐๗ ต่อแสนประชากร
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการดูแลสุขภาพของตนเองโดยเฉพาะประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด
โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้ห่างไกลจากการเกิดโรค และกลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน หมู่ที่๑ และหมู่ที่ ๒ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลไม้แก่น จึงจัดทํา โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ ๑. เพื่อให้ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปได้รับการตรวจ คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับ ความรู้ คําแนะนําและมีทักษะในการดูแลตนเอง ตัว ๑. ร้อยละ ๙๐ของประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปได้รับการ ได้รับ ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับ |
ประชุมชี้แจงโครงการแก่ทีมงาน อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๒. เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
๓. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย ๔. ดําเนินงานตามโครงการ
๔.๑ จัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพ พร้อมทั้งให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่ประชาชนทั่วไป ในเรื่อง
- ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูง คํานวณ BMI
- วัดความดันโลหิต ตรวจเบาหวาน
- ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ๓๖ ๒๕
- ประเมินภาวะซึมเศร้า ตัวชี้วัด
๔.๒ กิจกรรมคัดกรอง ในกลุ่มเสียงและเสี่ยงสูงเพื่อส่งพบแพทย์ให้ได้รับการดูแลรักษา
๔.๓ กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดัน
โลหิตสูง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
๕. สรุปผลการตรวจคัดกรอง และส่งต่อผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อการรักษาต่อไป
5. ประเมินผล / สรุปผลการดําเนินงาน
ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยง จากการคัดกรองได้รับการติดตามและได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ นอกจากนี้แล้วในกลุ่มของผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
สูงและโรคเบาหวานได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งส่งผลต่อการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 15:01 น.