โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน ห่างไกลโรคอ้วน
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน ห่างไกลโรคอ้วน |
รหัสโครงการ | 68-L1485-2-37 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา |
วันที่อนุมัติ | 5 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโสพิณ ควนวิไล อสม. ม.13 บ้านพรุราชา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 จากสหพันธ์โรคอ้วน (World Obesity Federation) ผู้คนราว 1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 7 คน กำลังเผชิญกับปัญหาโรคอ้วน สอดคล้องกับรายงาน World Health Statistics 2023 ขององค์การอนามัยโลก รายงานว่า มีผู้ใหญ่ 1.9 พันล้านคน หรือคิดเป็น 39% มีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปี พ.ศ. 2566 คนไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน 48.35% ทั้งนี้ อีกกลุ่มวัยที่ไม่ควรละเลย คือ กลุ่มวัยเด็ก เพราะภาวะสุขภาพในวัยเด็กส่งผลต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Nutrition ในปี พ.ศ. 2566 คาดว่า เด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วนมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกันกับเด็กที่ไม่อ้วน โดยเด็กที่มีภาวะอ้วนตั้งแต่ในวัยเรียนนั้น 55% จะพัฒนาไปเป็นวัยรุ่นที่อ้วน และวัยรุ่นที่อ้วนมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนถึง 80% และมีโอกาสถึง 70 % ที่จะเป็นโรคอ้วน ตั้งแต่อายุ 30 ปี เลยทีเดียว โดยจำนวนเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก แสดงตัวเลขความชุกในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน อายุระหว่าง 5-19 ปี จากเดิมที่มีเพียง 4% ในปี พ.ศ. 2518 เป็น 18% หรือกว่า 340 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2559 สำหรับประเทศไทย รายงานจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในการติดตามเฝ้าระวังภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็ก เมื่อปี พ.ศ. 2566 เปิดเผยว่า ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนอยู่ที่ 8.98% ในเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี อยู่ที่ 13.68% และในเด็กที่มีอายุ 15-18 ปี อยู่ที่ 13.72% จากการดูแลสุขภาพ หมู่ที่ 7 นพรุราชา มีประชาชนทั้งหมด 277 คน มีประชาชน กลุ่มอายุ 30-60 ปี จำนวน 131 คน และพบว่าสภาวะโรคโรคอ้วนในชุมบ้านพรุราชา มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการสำรวจสุขภาพของคนชุมนบ้านพรุราชา การตรวจร่างกายในปี 2567 พบว่าคนในชุมชนที่มีอายุ 30-60 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา จากการรายงานสุขภาพของคนในชุมชนระบุว่าเป็นมีภาวะอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Non-communicabie Diseases: NCD) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิดสูง โรคตับ โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น คนอ้วนมีโอกาส เป็นโรคเหล่านี้มากกว่าปกติ 2-3 เท่าโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีสุขภาพ เช่น อาหาร Fast Food น้ำอัดลม ของทอด ของมัน ของหวาน อาหารจำพวกแป้งและการกาดออกกำลังกายอย่างเพียงพอ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยอายุ 30 - 60 ปี ให้มีค่าดัชนีมวลกายปกติ
|
||
2 | 2. เพื่อให้ประชาชนวัยอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้และห่างไกลจากโรคอ้วน
|
||
3 | 3. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมห่างไกลจากโรคอ้วน
|
||
4 | 4. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทราบแนวทางการปฏิบัติ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยอายุ 30 - 60 ปี ให้มีค่าดัชนีมวลกายปกติ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้ประชาชนวัยอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้และห่างไกลจากโรคอ้วน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมห่างไกลจากโรคอ้วน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทราบแนวทางการปฏิบัติ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมชี้แจง แกนนำ, อสม ตำบลบ้านลำปลอกเพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ - ขั้นดำเนินการ 2.1 วิธีคัดกรอง สมุดประจำตัวของกลุ่มเป้าหมาย 2.2 จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอ้วน การปฏิบัติตน และสร้างภูมิคุ้มกันตนเองให้ห่างจากโรคอ้วน 2.2 ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอว คำนวนค่าดัชนีมวลกาย 2.2 แบ่งกลุ่ม ระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรื่องโรคอ้วน 2.2 ติดตาม 3 เดือนหลังการอบรม ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอว คำนวนค่าดัชนีมวลกาย เพื่อประเมิน
- สรุปผลการดำเนินโครงการ
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ปฏิบัติตนได้ห่างไกลจากโรคอ้วน
- ผู้เข้าอบรมทราบและเลือกรับประทานอาหารและโภชนาการได้เหมาะสมห่างไกลโรคอ้วน
- ผู้เข้าอบรมทราบแนวทางการปฏิบัติตน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 15:08 น.