โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์และหยุดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์และหยุดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา |
รหัสโครงการ | 68-L4119-1-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สาธารณสุขอำเภอธารโต |
วันที่อนุมัติ | 29 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรกาญจน์ ปกฤตดำรง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ การสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนอายุ ๑๒ –๑๘ปี มีปริมาณสูงขึ้นถึงปีละ๑ แสนคนและสถิติเด็กไทยที่ติดบุหรี่ ๑๐ คน จะมีเด็กติดบุหรี่ ๗ คน และปัญหาสุขภาพช่องปาก รวมถึงป้องกันนักสูบหน้าใหม่ให้รู้จักการกล้าที่จะปฏิเสธบุหรี่เมื่อถูกชักชวนและสามารถพัฒนาจนเกิดทักษะในการป้องกันตนเองได้ เนื่องจากสถานการณ์การสูบบุหรี่ในเด็กประถมศึกษาไทยกำลังน่าเป็นห่วง มีแนวโน้มการสูบบุหรี่สูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของกรมอนามัยพบว่า เด็กที่อายุน้อยที่สุดเริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก อายุเพียง ๙ ปี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ของเยาวชนมากที่สุด คือมีเพื่อนหรือคนรู้จักสอนให้สูบบุหรี่ และการมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ รวมถึงการถูกใช้ให้ไปซื้อบุหรี่ เด็กขาดความรู้ความเข้าใจในพิษภัยของบุหรี่ ต้องการแสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคม การเลียนแบบจากสื่อภาพยนตร์ต่างๆที่ทำให้เด็กถูกชักจูงได้ง่ายจากกลยุทธ์การโฆษณา รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆที่แฝงการโฆษณาของบริษัทบุหรี่ซึ่งที่ผ่านมาการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางสาธารณสุขจึงมีความพยายามที่จะรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคบุหรี่ มุ่งเน้นให้เกิดการลดการสูบบุหรี่ในนักสูบหน้าใหม่ เพราะการไม่สูบบุหรี่นั้นจะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และทำให้สุขภาพอนามัยและสุขภาพชีวิตทุกคนในสังคมดีขึ้น โดยใช้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอน ใช้การเล่นกีฬาเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก เริ่มในเด็กอายุน้อยกว่า ๑๒ ปี ซึ่งกิจกรรมและการรณรงค์ต่างๆ จะต้องได้รับการร่วมมือจากเด็ก ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนในการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันผู้สูบหน้าใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในตำบลธารโต พบว่า นักเรียนทั้งในและนอกระบบมีการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าจากทางออนไลน์ ร้อยละ 75.26 เคยมีและใช้บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 17.28 มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ร้อยละ 78.16 และมีจำนวนนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต จึงตระหนักและเห็นความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และหยุดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนเขตพื้นที่ตำบลธารโต และเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน ให้ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่และให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจมีภูมิคุ้มกันยาเสพติดเพื่อเป็นเกราะกำบังในการป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ปลูกจิตสำนึกให้แก่นักเรียนในเรื่องพิษภัยและโทษของบุหรี่ที่มีผลต่อร่างกายและพิษภัยที่เกิดกับนักสูบมือ ๒ ให้พ้นจากพิษภัยของบุหรี่ จากจำนวนเยาวชนในพื้นที่ตำบลธารโต ที่อยู่ในระบบการศึกษาที่โรงเรียน ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลธารโตจำนวน 745 คน และนักเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาตามอัธยาศัยของตำบลธารโต จำนวน 175 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นนักสูบหน้าใหม่ทั้งสิ้น จากความสำคัญข้างต้นดังกล่าว จึงมีความต้องการที่จะทำโครงการเพื่อให้พื้นที่ตำบลธารโต เป็นพื้นที่ที่ปลอดนักสูบหน้าใหม่และเยาวชนห่างไกลบุหรี่ปละบุหรี่ไฟฟ้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนทั้งนอกระบบและในระบบที่เริ่มสูบบุหรี่มีจำนวนลดลง
|
||
2 | เพื่อให้นักเรียนทั้งนอกระบบและในระบบที่เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่
|
||
3 | เพื่อให้นักเรียนทั้งนอกระบบและในระบบที่อยู่รอบข้างคนสูบบุหรี่มีความรู้ในการป้องกันตนเอง
|
||
4 | เพื่อทำการทดสอบสมรรถภาพปอดของนักเรียนที่มีบุคคลในครัวเรือนสูบบุหรี่กับไม่สูบบุหรี่ศึกษาเชิงเปรียบเทียบ
|
วิธีดำเนินการ
๑. ประชุมวางแผนและแนวทางการดำเนินงานและให้ความเห็นชอบโครงการ
๑.๑ จัดทำรายละเอียดโครงการฝึกอบรม/แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบโครงการและการแบ่งงาน
๑.๒ จัดซื้อ/จัดจ้าง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร. พัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. จัดทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
๓. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา จำนวน 100 คน
4. จัดกิจกรรมมหกรรม ตลาดนัดความรู้ เรื่อง ท่องแดน มหัศจรรย์ ยาเสพติดทุกประเภท จำนวน 1 วันเพื่อสร้างกระแสและติดอายุธทางปัญญาให้กับนักเรียนทั้งในและนอกระบบการศึกษา
5.จัดกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพปอดให้กับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 ชุดทดสอบ
6. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณทราบ
๑. นักเรียนทั้งในและนอกระบบมีความรู้ความเข้าใจและไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า
๒. ลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ได้อย่างต่อเนื่องภายในพื้นที่ตำบลธารโต ร้อยละ 20 จากปี 2567
๓. เกิดหมู่บ้านปลอดควัน(บุหรี่)ในตำบลธารโตอย่างน้อย 2 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลธารโต
4.บุคคลในครอบครัวปลอดภัยจากควันบุหรี่มือ 1/ มือ2/ และมือ3
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 15:11 น.