กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพอกเข่าเสื่อมด้วยศฯาสตร์การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 6830230207
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละไกรทอง
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 13,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟูซียะห์ ลอมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.627,101.64place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรผู้สูงอายุในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณร้อยละ ๕ ต่อปี และคาดว่าจะ เป็นสังคมสูงวัยไม่ถึง ๒๐ ปีข้างหน้านี้ จากผลสํารวจโรคที่พบบ่อย ๓๐ อันดับโรคในผู้สูงอายุซึ่งมีโรคข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทําให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับ น้ําหนักและมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ําหล่อเลี้ยงเขาทําให้มีอาการปวด บวม แดงร้อนที่เข่า ซึ่งเป็นโรคที่มีการ เปลี่ยนแปลงการเสื่อมในกลุ่มอายุที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ตําแหน่งของข้อที่มีการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วย และต้องเข้ารับ บริการมากที่สุด คือ ข้อเข่า ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยทั่วไปจะรับการรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งยาดังกล่าวหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทําให้ เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย และความดันโลหิตสูง
ตําบลไม้แก่น หมู่ ๑ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ไม้แก่น ที่มีประชากรผู้สูงอายุมาก โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ 9 บ้านไม้แก่น เป็นพื้นที่ที่มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็กและวัยทํางาน และพื้นที่ หมู่ที่ ๒ ตามลําดับ ซึ่งข้อมูลการรับบริการส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมาด้วยอาการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อเช่น อาการปวดเข่า ปวดเมื่อยทั่วไปตามร่างกายเป็นต้น และส่วนใหญ่ก็จะไม่รับการรักษาด้วยยาสมุนไพร จะรับยาแผน ปัจจุบันมากกว่า
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านหมู่ที่ ๑ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบล ไม้แก่น ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการแก้ไขอาการปวดเข่าซึ่งจะนําไปสู่ข้อเข่าเสื่อม และส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพจึงนําศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ข้อเข่าเสื่อม ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตบริบทในชุมชน จึงได้จัดทําโครงการข้อเข่าดี หลีกหนีข้อเข่าเสื่อมเพื่อบําบัดผู้ป่วยโรค เข่าเสื่อมให้มีอาการปวดลดลง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรใน
ท้องถิ่นนํามาทํายาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาไทยอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม

-ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าได้รับการดูแลรักษาด้วย
ศาสตร์การแพทย์แผนไทย ร้อยละ ๙๐ ตัวชี้วัดความสําเร็จ

2 ข้อที่ ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนําสมุนไพรที่มีอยู่ใน ตัวชี้วัดความสําเร็จ ท้องถิ่นมาทํายาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และ ตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาไทย

๒. ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุสามารถนําสมุนไพรที่มีอยู่ใน ท้องถิ่นมาทำยาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และได้ตระถึงคุณค่าในภูปัญญาไทย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ประชุมชี้แจงโครงการแก่ทีมงาน อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๒. เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
๓. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย
๔. ดําเนินงานตามโครงการ
๔.๑ ประเมินระดับความเจ็บปวดข้อเข่า
๔.๒ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในการดูแลสุขภาพของตนเองในการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น
เพื่อลดอาการปวดเข่า
๔.๓ สาธิตการทํายาพอกเข่าสมุนไพร
๕. สรุปผลการดําเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถบรรเทาอาการปวดเข่า ด้วย
๒. มีการนําสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 15:38 น.