โครงการอบรมการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ |
รหัสโครงการ | 68-L1485-2-39 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 14 |
วันที่อนุมัติ | 5 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสม ศรีดำ ตำแหน่ง ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 14 |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยกระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันแพทย์แผนไทยได้พัฒนางานการแพทย์แผนไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขของไทยโดยมีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐตามนโยบายแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 7 โดยกระทรวงมีความมุ่งหมายนอกเหนือจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแล้ว แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทย มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลดลง เนื่องจากการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพในซีกตะวันออก เป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพแบบคนไทยที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพมีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาล เช่น การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การประคบสมุนไพร การนวดไทย การบริหารด้วยท่าฤษีดัดตน ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น
ตำบลปะเหลียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาพื้นฐานในเรื่องสุขภาพอย่างหนึ่งของชุมชน คือ การปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอกตามร่างกาย มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือแม้แต่อาการบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมต่างๆ วิธีการแก้ไขของชุมชนจะใช้วิธีการนวด ซึ่งเริ่มมาจากการช่วยเหลือกันเองในครอบครัว มีการใช้ศอก เข่า และเท้า นวดให้แก่กันหรือนวดตนเองเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดและเมื่อยล้า บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต กระตุ้นการทำงานของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น การนวดจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง และเป็นการนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อผ่อนคลายบรรเทาเคล็ดขัดยอกกล้ามเนื้อและข้อต่อ กระตุ้นระบบประสาทให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใส ผ่อนคลายจิตใจ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวและสังคม จึงถือเป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอด
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนวดแผนไทย เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน ฉะนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 14 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพด้วยการนวด จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการอบรมการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ” ขึ้น เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจทักษะการนวดที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน สามารถเลือกวิธีการนวดแผนไทย เพื่อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดและช่วยเหลือตนเองในการดูแลสุขภาพได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้างแกนนำชุมชนให้มีความรู้ความสามารถด้านการนวดแผนไทยและเกิดทักษะด้านการนวดแผนไทยที่ถูกต้อง
|
||
2 | 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน โดยสามารถดูแลตนเอง บุคคลรอบข้างและผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้ในเบื้องต้น ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างตรงจุดและถูกวิธี
|
||
3 | 3. เพื่อให้การบรรเทาอาการปวดเมื่อย การเจ็บปวดต่าง ๆ ของร่างกายจากการนวดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
|
||
4 | 4. เพื่อป้องกันอันตรายจากการนวดที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การบาดเจ็บรุนแรงของร่างกาย
|
ขั้นเตรียมการ
- ประชุม อสม.ร่วมกับ รพ.สต. เพื่อกำหนด แผนงาน/โครงการ
- นำเสนอ แผนงาน/โครงการ เพื่อขออนุมัติ
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนวิทยากร
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
ขั้นดำเนินการ
- ลงทะเบียน และ การให้ความรู้ โดยวิธีการดังนี้
- การบรรยายให้ความรู้
- การสาธิตและฝึกปฏิบัติ
- ออกเยี่ยมเยือน ดูแลให้บริการนวดเพื่อสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในพื้นที่
- การซักถามปัญหาและเสนอความคิดเห็น
ขั้นสรุป
- จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
- ติดตามประเมินผล / สรุปปัญหาและอุปสรรค
- เกิดแกนนำชุมชนที่มีความรู้ความสามารถด้านการนวดแผนไทยและมีทักษะด้านการนวดแผนไทยที่ถูกต้อง
- กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน โดยสามารถดูแลตนเอง บุคคลรอบข้างและผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้ในเบื้องต้น ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างตรงจุดและ ถูกวิธี
- การนวดของบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- อันตรายจากการนวดและโอกาสเกิดการบาดเจ็บรุนแรงของร่างกายลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2568 16:27 น.