กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินดี อยู่ดี เสริมสร้างสุขภาพในโรงเรียนนิคม 5
รหัสโครงการ 68-L4119-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองธารโต 5
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,147.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรยีลัน สาเม๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.167,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 102 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการ "กินดี อยู่ดี เสริมสร้างสุขภาพในโรงเรียนนิคม 5" จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนผ่านการพัฒนาพฤติกรรมการกินอาหารที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพองค์รวม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตอย่างแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันพบว่าปัญหาทางโภชนาการ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ การขาดสารอาหาร โรคอ้วน รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง กำลังเป็นปัญหาในกลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมอง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงเรียนจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยมุ่งเน้นให้ความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงลดการบริโภคอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ให้เด็กนักเรียนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารที่มีประโยชน์ การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี โครงการนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ มีความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน รวมถึงกระตุ้นให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในการดูแลสุขภาพของประชากรรุ่นใหม่ในระยะยาว เนื่องจากเก็บข้อมูลสถิติด้านโภชนาการในปีการศึกษา 2567 พบว่า มีนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองธารโต 5 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 117 คน มีภาวะทุพโภชนาการ คือ น้ำหนักและส่วนสูงไม่สมดุลกัน อันเนื่องมาจากการนักเรียนและผู้ปกครอง ขาดความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหาร หลักโภชนากร ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการกินดี อยู่ดี เสริมสร้างสุขภาพในโรงเรียนนิคม 5 ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรในโรงเรียนจำนวน 144 คน เพื่อให้เป็นถึงความสำคัญของโภชนาการและการรับประทานอาหารที่เหมาะสมแก่เด็กนักเรียน การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีและพัฒนาทักษะการเลือกอาหารอย่างมีสติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีการดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและวางแผนจัดทำโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 3. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ 4. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1) จัดอบรมให้ความรู้
1. วิทยากรให้ความรู้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ดังนี้ - การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ - ประโยชน์จากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ - การดูฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร กิจกรรมที่ 2) เสริมทักษะเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ 1. จัดกิจกรรมทำอาหารง่ายๆ นักเรียนร่วมกับตัวแทนผู้ปกครอง และครู เมนู - แซนวิวทูน่า - โยเกิร์ต กับผลไม้ ส้ม,แก้วมังกรและสตอเบอร์รี่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีความรู้และสามารถเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ด้วยตัวเอง
    1. สุขภาพโดยรวมของนักเรียนดีขึ้น ลดอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการได้
    2. สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ทำให้ทั้งครูและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของโภชนาการที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2568 15:38 น.