โครงการชวนขยับ รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพลดโรค ปีงบประมาณ2568
ชื่อโครงการ | โครงการชวนขยับ รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพลดโรค ปีงบประมาณ2568 |
รหัสโครงการ | 68-L7252-02-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนวังทง |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 29,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนิตยา หมุดหละ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสมบัติ มุเส็มสะเดา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.636,100.416place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลง ทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า บุหรี่ สุรา และสิ่งเสพติดต่างๆมีส่วนบันทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้ามการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โดยระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ดังนั้น ชุมชนวังทง จึงจัดทำโครงการ ชวนขยับ รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพลดโรคขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย และได้จัดกิจกรรมพบปะประชาชน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อสอบถามความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิต พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมมีกิจกรรมและเข้าร่วมทางสังคม
|
||
2 | 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนวังทงที่เข้าร่วมได้รับการเสริมสร้างภาวะทางร่างกาย
|
||
3 | 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีเวที/สถานที่ในการจัดกิจกรรมร่วมกัน
|
- ขั้นเตรียมการ
1.1 ระดมความคิดคณะกรรมการชุมชนวังทงและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
1.2 วางแผนกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษา
1.3 จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา เพื่อพิจารณาอนุมัติ
- ขั้นดำเนินการ
จัดให้มีกิจกรรมพบปะกันระหว่างผู้นำชุมชนกับคณะกรรมการชุมชน และทำกิจกรรมร่วมกัน เดือนละ 1 ครั้งทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน โดยจัดให้มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนที่เข้าร่วมมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งอาศัยภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานในพื้นที่ร่วมดำเนินการในแต่ละกิจกรรม
- ขั้นดำเนินการ
จัดให้มีกิจกรรมพบปะกันระหว่างผู้นำชุมชนกับคณะกรรมการชุมชน และทำกิจกรรมร่วมกัน เดือนละ 1 ครั้งทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน โดยจัดให้มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนที่เข้าร่วมมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งอาศัยภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานในพื้นที่ร่วมดำเนินการในแต่ละกิจกรรม
- กิจกรรมออกกำลังกาย/นันทนาการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ( จันทร์ อังคาร พุธ
พฤหัส )
- กิจกรรมพบปะประชาชน เดือนละ 1 ครั้ง ( ทุกวันวันศุกร์สุดท้ายชองเดือน
3.ขั้นประเมินผล
ติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและสรุปผลโครงการ
9.1 ประชาชนในชุมชนวังทงได้มีโอกาสทำกิจกรรมและเข้าร่วมทางสังคม
9.2 ประชาชนที่เข้าร่วมได้รับการเสริมสร้างภาวะทางร่างกาย เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
ต่างๆ และภาวะซึมเศร้าหรือโรคที่เกิดสภาวะจิตใจและอารมณ์
9.3 ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีเวที/สถานที่ในการจัดกิจกรรมร่วมกัน
9.4 มีแกนนำในการออกกำลังกายประจำชุมชนวังทง
9.5ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 11:25 น.