โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงานด้วยการแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงานด้วยการแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 68-L4127-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาเจาะ |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2568 |
งบประมาณ | 25,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลเล๊าะ ฮาเกาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.212,101.291place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นลักษณะแนวสุขภาพแบบองค์รวม โดยองค์ความรู้ที่ใช้จะเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่ในอดีตบวกกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจุบัน หรือที่เราได้ยินว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อมาดูแลสุขภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วศาสตร์การแพทย์แผนไทย เราจะมาใช้ในแง่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการฟื้นฟู (http://www.si.mahidol.ac.th) เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยและเอื้ออาทรกัน จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ส่วนประกอบของสารอาหารและสรรพคุณทางยาในพืช ผัก และผลไม้พื้นบ้านต่างๆ เราสามารถรู้ได้จากการศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาว่ามีสรรพคุณอย่างไร และเมื่อนำไปใช้แล้วก็ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วยสรรพคุณของพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดจะช่วยบำรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ทำให้ในชุมชมมีความเอื้ออาทรต่อกัน เกิดการสร้างสรรค์ มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ในชุมชนจึงควรนำความเป็นวิทยาศาสตร์ของพืชผักพื้นบ้านมาส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของชุมชนด้วย สมุนไพรกับขอบเขตของวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพทางกายและจิตใจของคนในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาขึ้น เช่น ในบ้านก็มีการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้าน ไม้มงคลเอาไว้ หรือตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนก็ปลูกพืช ผัก ผลไม้ที่ใช้ประกอบอาหารได้ พืชที่รักษาสภาพแวดล้อมหรือพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับชุมชน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและทางสรรพคุณทางยาแก่สุขภาพร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด ในชุมชนจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้พืช ผัก และผลไม้ต่างๆ เพื่อประกอบอาหารอย่างถูกวิธี ส่งเสริมสุขภาพทางจิตใจด้วยการส่งเสริมให้มีการสกัดและใช้น้ำมันระเหยจากพืชสมุนไพรต่างๆ (http://www.healthcarethai.com) ในปี 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางลาง จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคเบาหวานและความดัน จำนวน 329 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.6 ของผู้สูงอายุทั้งหมด (900 ราย) และพบจากทะเบียนผู้ป่วยนอก พบผู้สูงอายุป่วยมาด้วยอาการปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 178 คน 766 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 50.42 ของผู้สูงอายุทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวนมาก รวมไปถึงกลุ่มเสี่ยง ต้องได้รับการการส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันโรคด้วยตัวเอง การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ เช่น การปลูกสมุนไพรกินเอง ถือเป็นการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย ที่อาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆและโรคมะเร็งอื่นๆ ได้ในอนาคต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางลาง ได้จัดโครงการนี้ขึ้น ในการจัดระบบริการแบบใหม่ การส่งเสริมการปลูกสมุนไพรกินเอง การปรับประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหรือประเพณีพื้นบ้าน การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ รวมไปถึงการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มวัยทำงาน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มวัยทำงานในพื้นที่ตำบลบาเจาะ จำนวน 60 คน ได้รับฟิ้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยการนวดไทย ตามการวินิจฉัยหรือข้อบ่งชี้ของแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มวัยทำงานในพื้นที่ตำบลบาเจาะ จำนวน 60 คน ได้รับฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยการนวดไทย ตามการวินิจฉัยหรือข้อบ่งชี้ของแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข |
70.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขตามความจำเป็น ร้อยละของการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขตามความจำเป็น |
80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 | ต.ค. 68 | พ.ย. 68 | ธ.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเตรียม/วางแผน(P)(1 ต.ค. 2567-30 ธ.ค. 2568) | 0.00 | |||||||||||||||
2 | การดำเนินงานตามแผน (D)(30 ต.ค. 2567-30 ธ.ค. 2568) | 25,000.00 | |||||||||||||||
3 | การประเมิน / รายงานผล (A)(30 ธ.ค. 2568-30 ธ.ค. 2568) | 0.00 | |||||||||||||||
รวม | 25,000.00 |
1 การเตรียม/วางแผน(P) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 0.00 | 0 | 0.00 | |
30 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ขั้นตอนวางแผนงาน | 60 | 0.00 | - | ||
2 การดำเนินงานตามแผน (D) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 120 | 25,000.00 | 0 | 0.00 | |
30 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้สุขศึกษาเรื่องการบริหารอวัยวะในร่างกาย เพื่อคลายกล้ามเนื้อในการทำงาน | 60 | 10,000.00 | - | ||
30 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย | 60 | 15,000.00 | - | ||
3 การประเมิน / รายงานผล (A) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 0.00 | 0 | 0.00 | |
30 ต.ค. 67 - 30 ธ.ค. 68 | สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล บาเจาะ | 60 | 0.00 | - | ||
วิธีดำเนินการ
1. ขั้นตอนวางแผนงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
- ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
2. จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล บาเจาะ
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าว อาสาสมัคสาธารณสุข ผู้นำชุมชน เป็นระยะ ๆ
- สำรวจกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มวัยทำงาน ในพื้นที่ตำบล
- จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช สื่อความรูตางๆ ไดแก แผนพับ ไวนิล การให้ความรู้เรื่องการนวดแผนไทย เพื่อการรักษาฟื้นฟู
- ตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวินิจฉัยว่าต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกายด้วยการนวดแผนไทยหรือไม่
- ให้สุขศึกษาเรื่องการบริหารอวัยวะในร่างกาย เพื่อคลายกล้ามเนื้อในการทำงาน
- จัดทำแผนการให้บริการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายเชิงรุกด้วยการนวดไทย
- ดำเนินการให้การฟื้นฟูสุขภาพร่างกายกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการวินิจฉัย หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ตามแนวทางการนวดแผนไทย โดยผู้ช่วยนวดไทย ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 330 ชั่วโมง ขึ้นไป
- บันทึกข้อมูลการให้บริการ เพื่อประกอบการส่งสรุปผลการดำเนินงาน
4. ประเมินผลการดำเนินงาน
5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล บาเจาะ
- ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ได้รับการการดูแลสุขภาพที่จำเป็นด้วยการนวดแผนไทย
- ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน มีความรู้เรื่องการบริหารอวัยวะในร่างกาย เพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงานได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 11:30 น.